❝Siamese Language …
พระทีปังกระ ๑ พระโกณฑัญญะ ๑ พระสุมังคละ ๑ พระสุมนะ ๑ พระเรวตะ ๑ พระโสภิตะ ๑ พระอโนมทัสสี ๑ พระปทุมะ ๑ พระนารทะ ๑ พระปทุมุตตระ ๑ พระสุเมธะ ๑ พระสุชาตะ ๑ พระปิยทัสสี ๑ พระอัตถทัสสี ๑ พระธรรมทัสสี ๑ พระสิทธัตถะ ๑ พระติสสะ ๑ พระปุสสะ ๑ พระวิปัสสี ๑ พระสิขี ๑ พระเวสสภู ๑ พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑ พระกัสสปะ ๑ · พระโคตมะ ๑*
พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระตครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวะ พระภาวิตัตตะ พระสุมภะ พระสุภะ พระเมถุละ พระอัฏมะ พระสุเมธะ พระอนีฆะ พระสุทาฐะ พระหิงคุ พระหิงคะ พระทเวชาลินะ พระอัฏฐกะ พระโกสละ พระสุพาหุ พระอุปเนมิสะ พระเนมิสะ พระสันจิตตะ พระสัจจะ พระตถะ พระวิรชะ พระปัณฑิตะ พระกาละ พระอุปกาละ พระวิชิตะ พระชิตะ พระอังคะ พระปังคะ พระคุตติชชิตะ พระปัสสี พระชหี พระอุปธิ พระทุกขมูละ พระอปราชิตะ พระสัตถา พระปวัตตา พระสรภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ พระอสิตะ พระอนาสวะ พระมโนมยะ พระมานัจฉิทะ พระพันธุมะ พระตทาธิมุตตะ พระวิมละ พระเกตุมะ พระโกตุมพรังคะ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ พระอัจจุตะ พระอัจจุตคามี พระพยามกะ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ พระสัยหะ มโนนนิกมะ พระอานันทะ (4) พระนันทะ (4) พระอุปนันทะ (4) พระภารทวาชะ พระมังคละ พระสุมังคละ พระทิพพิละ พระอุปนียะ พระทุมมุขะ พระนิมิราช พระนัคคะชิ พระกรกัณฑะ พระอาทิจจะพันธุ พระอุสภะ พระอุปนียะ* พระวีตราคะ พระกัณหะพุทธะ พระสุจินติตะ · พระมาตังคะ* พระอัฏฐิสสระ พระชีวิตวิเสส พระสุมนิสสระ พระโสมนัสสะ พระรัตนกุฏิ —๚ะ๛·
พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระตครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวะ พระภาวิตัตตะ พระสุมภะ พระสุภะ พระเมถุละ พระอัฏมะ พระสุเมธะ พระอนีฆะ พระสุทาฐะ พระหิงคุ พระหิงคะ พระทเวชาลินะ พระอัฏฐกะ พระโกสละ พระสุพาหุ พระอุปเนมิสะ พระเนมิสะ พระสันจิตตะ พระสัจจะ พระตถะ พระวิรชะ พระปัณฑิตะ พระกาละ พระอุปกาละ พระวิชิตะ พระชิตะ พระอังคะ พระปังคะ พระคุตติชชิตะ พระปัสสี พระชหี พระอุปธิ พระทุกขมูละ พระอปราชิตะ พระสัตถา พระปวัตตา พระสรภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ พระอสิตะ พระอนาสวะ พระมโนมยะ พระมานัจฉิทะ พระพันธุมะ พระตทาธิมุตตะ พระวิมละ พระเกตุมะ พระโกตุมพรังคะ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ พระอัจจุตะ พระอัจจุตคามี พระพยามกะ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ พระสัยหะ มโนนนิกมะ พระอานันทะ (4) พระนันทะ (4) พระอุปนันทะ (4) พระภารทวาชะ พระมังคละ พระสุมังคละ พระทิพพิละ พระอุปนียะ พระทุมมุขะ พระนิมิราช พระนัคคะชิ พระกรกัณฑะ พระอาทิจจะพันธุ พระอุสภะ พระอุปนียะ* พระวีตราคะ พระกัณหะพุทธะ พระสุจินติตะ · พระมาตังคะ* พระอัฏฐิสสระ พระชีวิตวิเสส พระสุมนิสสระ พระโสมนัสสะ พระรัตนกุฏิ —๚ะ๛·
พระบรมราโชวาท (1)
พระราชทานแก่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศ
ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันเสาร์ ที่ 13 ธันวาคม 2523
ในโอกาสที่ผู้ที่เป็นผู้สนใจในพระพุทธศาสนา เป็นสมาชิกของพุทธสมาคมและ สมาคมเครือทางพุทธศาสนา และผู้ที่สนใจอื่น ๆ ได้มาประชุมกัน เพื่อปรึกษาหารือในปัญหาของพุทธศาสนาในทุกด้าน ได้มาให้พรในโอกาสคล้ายวันเกิด ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ปลาบปลื้ม และทำให้มีความรู้สึกกังวลใจอยู่บ้าง ท่านนายกพุทธสมาคมได้ยกยอปอปั้น อย่างมากว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติทางพุทธศาสนาอย่างชำนิชำนาญ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ลำบากที่จะรับ แต่ก็ได้ขอให้ให้โอวาท
ข้อแรกเนื่องจากที่ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายหวังในบารมีให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้น ก็เป็นข้อหนึ่งที่น่าคิด เพราะว่าบ้านเมืองประกอบด้วยบุคคล และแต่ละบุคคลจะต้องทำด้วยตนเองตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่ละคนต้องการอะไร ก็ต้องการความสุขคือ ความสงบ ความสุขและความสงบนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง ฉะนั้น ที่จะให้คนอื่นมาปกป้องรักษาก็เป็นสิ่งที่ยากถ้าตัวเองไม่ทำ อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเองมิใช่พึ่งคนอื่น แต่การที่จะอาศัยคนอื่นก็อาศัยได้โดยดูผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสิ่งที่ผู้อื่นที่เราเห็นว่าปฏิบัติดีชอบ ได้พูดได้แนะนำ ดังนี้ก็เป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ผู้อื่นจะช่วยเราได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมีการพิจารณาของตัวเอง ว่าผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติหรือฟังข้อแนะนำในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้ อันนี้ก็ได้ชี้แจงตามที่ได้กล่าวมาเมื่อตะกี้
มาถึงปัญหาของพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ลำบากที่สุดที่จะเห็นพระพุทธศาสนา และประโยชน์ของพระพุทธศาสนา เพราะแต่ละคนก็มีกายและใจของตัว แต่ละคนก็มีความรู้หรือปฏิปทาของตัวแล้วแต่ภูมิแต่ชั้น การที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนานั้น ย่อมจะเป็นแล้วแต่บุคคล แล้วแต่สภาพของตัว จะเรียกว่าสภาวะหรือสภาพหรือฐานะของตัว ฐานะนี้ไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงินการทองหรือความเป็นอยู่ แต่เป็นฐานะของจิตของแต่ละคน ฉะนั้น พุทธศาสนาถ้าว่าไปเป็นสิ่งที่ลุ่มลึก ที่ลำบากที่จะสั่งสอนหรือที่จะเรียน เพราะว่าแต่ละคนจะต้องทำตามฐานะของตัว หรือจะว่าได้ว่าพุทธศาสนามีหลายชนิด แต่ละคนก็มีพระพุทธศาสนาของตัว ฉะนั้น การที่จะสั่งสอน การที่จะชี้แจง การที่จะฟัง การที่จะเรียนพระพุทธศาสนานั้น จะต้องพยายามที่จะทำด้วยตนเอง
มาพูดถึงหน้าที่ของแต่ละคนหรือหน้าที่ของแต่ละสมาคม ที่สนใจพุทธศาสนา ก็มีมากหลาย เพราะจะต้องแบ่งพุทธศาสนานี้ออกเป็นหลายสาขาหรือหลายด้าน ด้านหนึ่งก็คือเรื่องของสังคม คนเรามีความว้าเหว่ใจก็จะต้องหาเพื่อนฝูงที่จะเข้าหากัน และได้มีการสังสรรค์ได้มีการปรึกษาหารือ เพื่อที่จะหาทางที่จะบรรเทาความเดือดร้อนความขุ่นใจ ที่มีความลำบากใจลำบากกาย จึงได้ตั้งขึ้นมาเป็นสมาคมเป็นชมรมเป็นกลุ่มเป็นชุมนุม ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาพระพุทธศาสนา บางทีก็เรียกว่าพุทธสมาคม บางทีก็เรียกว่าชุมนุมพุทธศาสตร์ บางทีก็เรียกว่าชุมนุมพุทธศาสนา เป็นต้น เมื่อมีชื่อหลาย ๆ ชื่อก็เข้าใจได้ว่า มีจุดประสงค์หลาย ๆ จุดประสงค์ จุดประสงค์แรกคือการศึกษาพุทธศาสนานั้น มีการศึกษาได้อีกหลายทาง ศึกษาประวัติของพุทธศาสนา ศึกษากลไกของพุทธศาสนา และศึกษาประโยชน์ของพุทธศาสนาต่อสังคม และในที่สุดก็มีศึกษาเพื่อปฏิบัติธรรม แม้การปฏิบัติ ธรรมนั้นเองก็มีหลายวิธีหลายสาย บางคนก็เห็นว่าการปฏิบัติหาความสงบอย่างเดียวก็จะพบทางของความสุข บางคนก็บอกว่าทำอย่างนั้นไม่พอ จะต้องหาความสงบ แล้วก็จะหาความรู้พิเศษต่าง ๆ เช่นให้มีตาทิพย์ได้ ให้เห็นทะลุกำแพงได้ ให้เห็นให้ฟังและให้รู้จิตใจของผู้อื่นได้ บางคนก็ปฏิบัติเพื่อให้เห็นความจริง คือความไม่ยั่งยืนของร่างกาย หรือความไม่ยั่งยืนของสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลก ฉะนั้น มีวิธีที่จะปฏิบัติอีกหลายต่อหลายทาง ที่กล่าวอย่างนี้ก็จะให้แสดงถึงว่า แต่ละคนมีความคิดของตัว มีแนวทางของตัว จึงศึกษาหรือปฏิบัติศาสนาต่างกันทั้งนั้น
ถ้าพูดถึงการปฏิบัติธรรม หรือการปฏิบัติศาสนาเพื่อสังคม เราเห็นสังคมมีความวุ่นวาย เราเห็นว่าประเทศชาติมีอันตรายที่จะเข้ามากล้ำกราย เราก็เกิดเป็นห่วง เป็นห่วงทำไม ก็เพราะว่ารู้ว่าถ้าสังคมวุ่นวาย ตัวเราเองก็เป็นอันตรายเพราะไม่มีความปลอดภัย ถ้าเห็นว่าประเทศชาติอยู่ในอันตรายก็เช่นเดียวกัน เราก็รู้สึกว่าตัวเราเองจะต้องประสบภัย ฉะนั้น เราจึงพยายามแก้ปัญหาของสังคม แล้วก็ดูไปข้างนอกว่า มีการฆ่ากัน มีการลักขโมยกัน มีการปล้นกัน มีการแก่งแย่งชิงดี มีการทำให้มีทุจริตต่าง ๆ เราก็อยากที่จะระงับหรือลดหย่อนไม่ให้มีความยุ่งยาก ดังนั้นจึงมาประชุมกันปรึกษากัน ก็ทำกิจการซึ่งจะเรียกว่าการสังคมสงเคราะห์มากกว่าที่จะเป็นการปฏิบัติศาสนา แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติศาสนาคือการสงเคราะห์ การสงเคราะห์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำได้ต่อเมื่อตัวเองดี ต่อเมื่อตัวเองมีความสามารถ แต่ถ้าสงเคราะห์คนอื่นโดยมีรากฐานหรือหลักของการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ในการสงเคราะห์อย่างนั้นก็อาจจะทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ฉะนั้น การที่จะสงเคราะห์จะต้องขัดเกลาตัวเองเสียก่อน จะต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน จะต้องสร้างความดีในตัวเองเสียก่อน ถึงจะสงเคราะห์ผู้อื่นได้ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีจุดประสงค์ที่จะตั้งเป็นกลุ่มพุทธศาสนาเพื่อแก้ไขสังคมหรือแก้ไขภายนอกก็จำต้องศึกษาตัวเองก่อน
ถ้าจะเป็นการชุมนุมกันหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อศึกษาพุทธศาสนาหรือที่เรียกว่า พุทธศาสตร์ มาใช้คำว่าพุทธศาสตร์ก็อาจจะเพราะว่าอยากจะให้ดูเป็นว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งแขนงหนึ่ง เป็นวิชาแขนงหนึ่งซึ่งจะต้องมาศึกษาและมาวิจัย มาศึกษาเพื่อที่จะให้ตั้งเป็นตำรา ทำอย่างนั้นก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะว่าเป็นการประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะให้ผู้อื่นสามารถที่จะได้ใช้ประโยชน์อย่างสะดวกที่สุด จึงทำเป็นการแปลบ้าง การประมวลบ้าง การถกเถียงมีการอภิปรายบ้าง การทำสิ่งเหล่านั้น ถ้าทำด้วยจุดประสงค์ที่ดีและด้วยความสามารถก็ย่อมมีประโยชน์ แต่ว่าถ้ามีการศึกษาวิจัย พุทธศาสตร์ เพื่อที่จะสร้างตำราใหม่ อันนั้นก็ไม่ชอบ เพราะตำรามีอยู่แล้ว ตำราคือคำสั่งสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกและในอรรถกถาต่าง ๆ ครบถ้วน มีจนบอกได้ว่ามีมากเกินความจำเป็นของแต่ละบุคคล แต่ว่าที่ต้องมีมากเพราะว่า อย่างที่กล่าวไว้ว่าแต่ละคนก็มีฐานะของตัว แต่ละคนก็จะได้เลือกได้ การศึกษาดังนี้เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาปริยัติ ปริยัตินั้นก็คือหลักการต่าง ๆ ที่เป็นตำรานั้นเอง การศึกษาปริยัติจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพุทธศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่สมาชิกสมาคมต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนาควรที่จะได้สนใจ
ปริยัตินี้ก็มีการศึกษาได้ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กันเหมือนกัน เช่น ศึกษาปริยัติเพื่อที่จะมาถกเถียงกัน อาจจะเป็นการทะเลาะกันด้วยซ้ำ อันนี้อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก แต่ว่ามีการทำกันมาก มาถกเถียงกันมาก ข้อนี้คนนี้พูดว่าอย่างหนึ่ง อีกคนก็แย้งว่าไม่ใช่อย่างนั้น ก็ถกเถียงทะเลาะกัน บางทีหน้าดำหน้าแดงจนกระทั่งเป็นศัตรูกันก็มี อย่างนั้นเท่ากับได้ศึกษาปริยัติสำหรับมาทะเลาะกัน สำหรับมาหาความทุกข์ สำหรับ มาหาความไม่สงบ จึงเป็นการศึกษาที่อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก เพราะว่าเป็นการศึกษาเพื่อมาโอ้อวดกัน เป็นการศึกษาเพื่อที่จะมาทะเลาะกัน เอาดีก็หมายความว่าเป็นการยึด เป็นมานะที่แรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา มีผู้ที่ศึกษาปริยัติ ของพระพุทธศาสนานี้สำหรับเก็บเอาไว้ ท่านเรียกว่าศึกษาพระปริยัติเป็นขุนคลัง คือหมาย ความว่าเก็บ...เก็บ...เก็บ...เก็บ...เอาไว้ เก็บเอาไว้เพราะว่าอยากเก็บ อันนี้ก็เป็นวิธีอย่างหนึ่ง ที่อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก แต่ว่าก็ยังดีกว่าที่จะศึกษาปริยัติมาสำหรับทะเลาะกัน เพราะว่าการทะเลาะนั้นทำให้เกิดความไม่สงบ ทำให้เกิดความรุนแรง ทำให้เกิดแตกแยกกัน ทำให้เกิดทิฐิมานะในตัวเอง ไม่เห็นสว่าง การที่จะศึกษาปริยัติเพื่อเป็นขุนคลังนั้น ก็ไม่ได้ประโยชน์นัก และอาจจะเสียอยู่ที่ว่าเท่ากับเราเป็นผู้ที่เก็บของโบราณ เราเป็นเหมือนคนที่สะสมเพราะว่าเรารักเราชอบ มันก็เป็นโลภหรือเป็นราคะก็ได้ ไม่เป็นสิ่งที่จะขัดเกลาให้เรามีความสบายใจแต่ประการใด อาจจะมีความพอใจที่ว่ามีปริยัติเยอะแยะ มันสนุกดีหรือมันน่าชื่นชมแต่ก็เป็นสุขชั่วแล่น ฉะนั้นการศึกษาปริยัติเพื่อที่จะเก็บไว้เฉย ๆ นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถึงจุดประสงค์ และอาจจะนำไปสู่ความเดือดร้อนบ้างเหมือนกัน เพราะว่าเราเรียน ปริยัติเราสะสมปริยัติ บางทีมันตกหล่นบ้าง บางทีก็ลืมบ้าง ก็เกิดโทมนัสว่า เอ.........ข้อนี้ เราลืมไปเสียแล้ว มันหายไปเสียแล้ว เพราะว่าเราเรียนเราจำมันย่อมลืมได้ โดยเฉพาะ อย่างผู้ที่เคยจำได้ และเดี๋ยวนี้ก็จำไม่ได้ ก็เดือดร้อนกลุ้มใจ ความกลุ้มใจนั้นก็ไม่รู้จะไปแก้ไขอย่างไร เพราะว่าลืมเสียแล้วว่าท่านแก้อย่างไร ลืมปริยัติว่าเวลากลุ้มใจท่านแก้ด้วยอะไร ก็ลืมไปก็กลุ้มใจยิ่งกลุ้มก็ยิ่งกลุ้มว่ากลุ้ม ก็นับว่าการเรียนปริยัติอย่างนั้น เพื่อเก็บไว้เฉย ๆ ก็ไม่สู้จะดี
การศึกษาปริยัติก็มีอีกอย่างหนึ่ง คือศึกษาปริยัติแล้วที่เรียกว่าปฏิบัติ เวลาฟังปริยัติหมายความว่าคำสั่งสอนใด ๆ อ่านคำสั่งสอนใด ๆ มาแล้วก็มาคิด มาคิดให้เข้าใจ มาคิดให้รู้ มาคิดให้แจ้ง อันนี้แหละเรียกว่าปัญญาได้ เวลาพูดถึงปริยัติข้อใดเอามาคิดว่า ท่านหมายความว่าอะไร แล้วมาดูที่จิตใจของเราว่ามันตรงหรือไม่ มีเหตุอย่างนั้นมันตรงไหมที่ท่านสอน อันนี้ก็หมายความว่าเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติมาข้อใดแล้วมีเวลา เมื่อใด ก็มาพิจารณาถึงข้อปริยัติในระหว่างที่ยังไม่ได้ลืมคำสั่งสอนนั้น มาดูจิตใจของเรา การดูจิตใจนี้ก็คือการปฏิบัติ ไม่ต้องมีอย่างอื่น การดูจิตใจนั้นอย่างเดียวเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติ หรือได้ฟังปริยัติ ได้เห็นปริยัติ ได้รู้สึกปริยัติ หมายความว่าได้ไปที่ไหนได้เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ๆ นั่นเป็นปริยัติทั้งนั้น เอามาพิจารณาว่าเวลาเราเจอสิ่งของเหล่านั้น ใจของเรารู้สึกอย่างไร นี้เป็นการปฏิบัติ และมาพิจารณาว่าทำไมมันเกิดอย่างนั้น ก็เป็นการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเมื่อฟังปริยัติ อ่านปริยัติ ประสบปริยัติแล้วมาปฏิบัติคือดูที่ใจ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าปริยัตินั้นลืมไปแล้ว แต่ใจที่สัมผัสและศึกษาอารมณ์ ต่าง ๆ ไม่ลืม ไม่มีทางลืม เพราะว่าเห็นแล้ว เห็นว่าอะไรเป็นจริงแล้ว เมื่อเห็นจริงแล้ว ไม่มีทางลืม
ฉะนั้น การปฏิบัตินั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยมากพูดถึงปฏิบัติก็กลัวแล้ว เพราะว่าปฏิบัตินั้นมีวิธีต่าง ๆ แล้วก็โดยมากวิธีต่าง ๆ นั้นบรรยายกันมาว่า ต้องทำอย่างโน้น อย่างนี้ ต้องทรมาน ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องเสียเวลามาก ไม่สามารถที่จะปลีกตัวออกมาปฏิบัติ ความจริงปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่ของยาก แต่ละคนทำได้ทั้งนั้น แต่ว่าจะต้องมีความตั้งใจ เมื่อเราอยากที่จะปฏิบัติธรรม มีความอยากแล้ว ก็หมายความว่าเรายินดี เราอยากที่จะปฏิบัติ ถ้าเราสนใจพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา เริ่มสนใจก็เริ่มทำได้แล้ว เพราะว่าถ้าคนเราไม่อยากปฏิบัติ ขี้เกียจปฏิบัติ หรือไม่คิดอ่านที่จะปฏิบัติก็ย่อมไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติแล้ว ความมืดก็ครอบคลุมเพราะว่าไม่ได้เปิดไฟ แต่ถ้าเราอยากขึ้นมาและเห็นว่าศาสนานี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ก็ย่อมเป็นการเปิดไฟ แม้จะริบหรี่ก็เป็นความสว่างให้เห็น อย่างเช่นเราเข้าไปในห้องที่มืด แล้วเราก็ไม่รู้จักห้องนั้น ไม่ทราบว่าสวิตซ์ไฟอยู่ที่ไหน เรามีไฟฉายแล้วก็เปิดไฟฉายอันริบหรี่นั้น หรือขีดไม้ขีดที่เป็นแสงสว่างที่ริบหรี่ไปหาสวิตซ์ไฟ ถ้าเราไม่ไปหาสวิตซ์ไฟเราก็ไม่สามารถที่จะเปิดไฟที่มีอยู่ในห้องนั้น คือมีหลอดไฟ มีสายไฟ มีสวิตซ์ไฟ ครบถ้วนในห้องนั้น เราไม่สามารถที่จะหาพบนอกจากจะบังเอิญ โดยบังเอิญเราไปแตะ สวิตซ์ไฟแล้วก็เปิดขึ้นมา แต่ว่าโดยมากก็ต้องหา เมื่อหาได้แล้วด้วยไฟริบหรี่ที่เรามีอยู่กับตัว เราก็สามารถไปเปิดไฟได้ ไฟริบหรี่นี้คือความสนใจเบื้องต้น เมื่อเราไปเปิดไฟได้แล้ว ก็จะสว่างขึ้นมา เราก็จะมีความดีอกดีใจ มีความพอใจว่าทำตามวิธีนี้ได้ผลดี มันสว่าง ไฟที่อยู่ในห้องนั้นอาจจะไม่สว่างเต็มที่ อาจจะมีหลายแห่ง ก็เปิดไฟอันนั้นก็มีความปิติยินดี แล้วเป็นอันว่าเราพอใจในการปฏิบัติเช่นนั้น คือเปิดสวิตซ์ไฟมันมีความสว่างดี เปิดสว่างดี ก็ย่อมมีความพอใจใหญ่ สบายใจ มีความร่าเริงใจ ความร่าเริงใจนี้ ความสบายใจ เบื้องต้นนี้ เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิบัติพุทธศาสนา ท่านเรียกว่าฉันทะ คือ มีความ พอใจในการปฏิบัติ มีความพอใจในการค้นคว้า
เมื่อมีความพอใจในการค้นคว้า เราก็ต้องค้นคว้าต่อไป ไม่ใช่พอใจเพียงแค่นั้น เพราะว่าความสว่างความดีความสุขความพอใจในการปฏิบัตินั้นยังมีอีกมาก ก็ต้องเพียรที่จะปฏิบัติงานของพระพุทธศาสนาต่อไป อันนี้ก็จะต้องมีวิริยะ วิริยะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อเริ่มต้นแล้วต้องมีวิริยะ หมายความว่าต้องเพียร ต้องมีความขยัน วิริยะนี้ก็คู่กับขันติ คือมีความอดทน บางทีเวลาเราทำงานอะไรก็ตามทั้งในทางโลกทางธรรม เราทำงานแล้วเหนื่อย เมื่อเหนื่อยก็ต้องมีความอดทนในความเหนื่อยนั้น ก็ต้องมีความเพียรที่จะปฏิบัติ ต่อไป ฉะนั้น พูดไปก็ต้องเห็นว่าความเพียรกับความอดทนนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานใด ๆ บรรลุผลได้ เมื่อมีความเพียรมีความอดทนแล้วสิ่งอื่นก็มา แต่ในความเพียรใน ความอดทนนี้ก็ต้องมีการเอาใจใส่ การเอาใจใส่นั้นคือติดตามอยู่ตลอดเวลาว่างานของเราไปถึงไหน แล้วก็ไม่ควรจะเผลอ ต้องให้มีการดูติดตามไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อปฏิบัติเช่นนั้นก็จะยิ่งก้าวหน้าใหญ่ งานต่าง ๆ ก็จะมีความสำเร็จได้ ไม่ใช่งานทางพุทธศาสนาเท่านั้น งานอื่น ๆ ในโลก งานในหน้าที่ หรืองานในทางส่วนตัว งานทุกอย่างนั้นจะก้าวหน้าไปได้โดยดี จะไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะว่าราบรื่นได้ เพราะแม้จะมีอุปสรรค อุปสรรคเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นอุปสรรคที่จะข้ามไม่ได้ ถ้ามีความเพียรความอดทนความเอาใจใส่ และเมื่อปฏิบัติงานดังนี้ก็จะต้องทบทวนอยู่เสมอ ดูให้ชัดว่างานที่เราทำไปมันไปถึงไหน งานนั้นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะบางทีถ้ามีความอดทน มีความเพียร และก็มีความเอาใจใส่ อาจจะเอาใจใส่อย่างไม่ถูกต้องนัก คือ เช่นเดียวกันกับการเดินทางไปที่ไหน สมัยนี้ก็ต้องแล่นรถ เราก็แล่นรถไปตามทาง มีทางแยกเราก็เห็นว่าทางนี้ถูกต้องแล้ว แต่ว่าแท้จริงเราเลี้ยวผิด อาจจะเป็นได้เพราะว่าดูท่าทางเป็นเช่นนั้น ก็จะต้องทบทวนว่าทางนั้นถูกต้องหรือไม่
อย่างเมื่อครั้งไปภาคอีสาน ดูในแผนที่ว่าหมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ในแผนที่แล้ว เราก็เห็นว่าทางที่ควรจะไปหมู่บ้านหนองแคร่นั้นอยู่ข้างทาง ซึ่งบนแผนที่เขียนว่าเป็นทางประ หมายความว่าจะเรียกว่าเป็นทางเกวียนก็ได้หรือเป็นทางเดิน แต่ว่าเราทราบว่ามีทาง ร.พ.ช. ผ่านมาใกล้แถวนั้น และก็มีทางอีกทางหนึ่งที่จะไปเชื่อมกับทาง ร.พ.ช. ได้ เราก็แล่นไปทางถนนใหญ่ ถึงที่ ๆ จะเลี้ยวเราก็บอกเลี้ยวซ้าย แล้วก็เลี้ยวซ้ายไปในถนนที่เป็นทางประอีกแห่งหนึ่งให้ไปถึงทาง ร.พ.ช. เมื่อถึงทาง ร.พ.ช. แล้ว ในแผนที่เขียนไว้ว่าให้เลี้ยวซ้าย แล้วก็ตรงไปลงจากทาง ร.พ.ช. เขียนไว้อย่างนั้น แต่ว่าเราก็แล่นรถไป แล่นไปขึ้นทาง ร.พ.ช. แล้วทาง ร.พ.ช. นั้นเลี้ยว เลี้ยวแล้วก็ไม่มีทางแยกแต่ประการใด ก็แล่นต่อไปข้ามสะพานไปถึงบ้านอีกบ้านหนึ่ง เราก็ฉงนว่าบ้านนี้มันอยู่ที่ไหน แล้วก็ทิศทางที่เราไปนั้นไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งมันไม่ถูก แต่ว่าไม่รู้ตัวเพราะว่าไม่ได้ทบทวนตลอดทาง แต่ไปถึงตรงนั้นเราก็ทราบว่ารู้สึกว่าต้องผิดแน่ จึงมาดูทิศทางและแผนที่อีกที ก็เลยปรากฏว่าจะต้องลงจากถนน ร.พ.ช. ตรงที่ใกล้เลี้ยวนั้นเอง แล้วก็กลับหลังหันลงมาประมาณ 2 กิโลเมตร แล่นมาถึงทางเลี้ยว ตรงนั้นมีทางลงไปเลี้ยวขวาไปบ้านหนองแคร่ ก็กลับเลี้ยวขวาลงไปตามทางที่เรามาแต่เดิม แล้วลงไปประมาณ 100 เมตร จึงเลี้ยวขวาอีกที แล้วไปทางประนั้นก็ไปถึงบ้านหนองแคร่ได้ ดังนั้นก็เห็นได้ว่าเราต้องพิจารณาทุกฝีก้าวว่า ตรง เลี้ยวขวานั้นความจริงยังไม่ถึงทาง ร.พ.ช. มันเป็นเลี้ยวขวาที่อยู่ในแผนที่เดิม และก็ไปถึงหนองแคร่ได้ ถ้าตั้งแต่ต้นได้มาพิจารณาดูชัด ๆ และติดตามตลอดไป ก็จะไม่ต้องเสียเวลา ไปต่อไปในทางที่ผิด แต่ถ้าเรามีความเพียรบอกว่ามีความเพียรอดทนกันไป ทางมันไกล แล่นไปตาม ร.พ.ช. นั่นจะไปถึงไหน มันจะออกไปโน่น จะข้ามไปถึงถนนไปนครพนมไปเลย หมายความว่าถ้าสมมุติว่าเราเอาหัวชนฝา เราเพียรมีความอดทนแล่นรถไป 2 ชั่วโมง ไปถึงนครพนมจะมีประโยชน์อะไร มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย แล้วก็จะเสียหายเพราะว่าเราจะเหน็ดเหนื่อยเปล่า และก็เสียน้ำมันซึ่งแพงนักในสมัยนี้เพราะไกลมาก หมายความว่าถ้าเรามีความเพียร ความอดทน และความจ้องดูถนนที่แล่นไปนั้นเท่านั้นเอง ไม่มีการ ทบทวนเป็นระยะ ๆ ว่าเราไปถึงไหน เราก็ไม่สามารถที่จะไปถึงจุดหมายที่ถูกต้องนอกจากจะบังเอิญ เพราะฉะนั้นก็จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้ครบถ้วนถึงจะดำเนินไปได้โดยดี
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นทางที่จะให้ได้ปฏิบัติงานของธรรม หรือปฏิบัติพุทธศาสนาในทางที่เรียกว่าปฏิบัติ เริ่มต้นตรงนี้อย่างนี้ และที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานทุกอย่าง ไม่ใช่งานของการปฏิบัติธรรม เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานของตัว ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย มีประโยชน์ทั้งนั้น ใครมีหน้าที่อะไรมีงานอะไร ถ้าทำตามหลัก นี้ก็มีความสำเร็จได้แน่ ๆ บอกว่าแน่ ไม่ใช่อาจจะ เป็นสิ่งที่แน่เพราะว่าจิตใจของเราจะได้ปฏิบัติในทางที่ถูก
คราวนี้ก็ยังไม่ได้พูดถึงว่า พุทธศาสนานี้ปฏิบัติที่ไหน ปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าคนที่ศึกษาพระพุทธศาสนา หรือมาตั้งเป็นพุทธสมาคม หรือเป็นกลุ่มศึกษาพุทธศาสนา บางที่ก็ยังไม่ทราบว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเริ่มที่ไหน เพราะที่พูดถึงวิธีการที่จะเริ่มปฏิบัติได้นั้น ก็ไม่ได้บอกว่าเริ่มปฏิบัติที่ตรงไหน นอกจากมาเปรียบเทียบว่าเข้าไปหาสวิตซ์ไฟเพื่อจะเปิด ให้มีความสว่าง และเมื่อมีความสว่างแล้วก็ดูทางได้ และไปดูทางที่จะทำให้สว่างยิ่งขึ้น สวิตซ์ไฟนั้นอยู่ที่ไหน คือสวิตซ์ไฟนั้นเราเอาแสงไฟเท่าที่เรามีริบหรี่นั้นไปฉาย แล้วก็ไปเปิดสวิตซ์ไฟ สวิตซ์ไฟนี้คืออะไร เพราะท่านพูดอยู่เสมอว่าพระพุทธศาสนานั้นเมื่อได้ปัญญา ก็มีความสว่าง เมื่อปฏิบัติธรรมก็ได้ปัญญา ได้แสงสว่างปัญญานั้นก็ดูจะเป็นสวิตซ์ไฟ แต่ถ้าดู ๆ ไปปัญญานี้ปัญญาในอะไร ก็ปัญญาในธรรมนี่ ปัญญาในธรรมไม่ใช่สวิตซ์ไฟ ปัญญาในธรรมนั้นคือแสงสว่าง สำหรับเปิดไฟให้สว่างคือให้ได้ถึงปัญญานั้นก็จะต้องมีสวิตซ์ไฟ สวิตซ์ไฟนั้นคืออะไร หรือว่าสวิตซ์ไฟนั้นจะพบอย่างไร แต่การที่จะบอกว่าสวิตซ์ไฟคืออะไรนั้น ก็คือใจเรา ใจหรือจิต จิตหรือใจก็ได้ แล้วบางทีท่านก็เรียกว่าจิต บางท่านก็เรียกว่าใจ บางท่านก็บอกว่าจิตคือใจ บางท่านก็บอกว่าใจคือจิต บางท่านก็บอกว่าจิตไม่ใช่ใจ หรือบางท่านก็บอกว่าจิตคือเป็นอาการของใจ อาการของใจนี้แปลว่าอะไร ใจเป็นสิ่งที่เรามี ทุกคน เป็นสิ่งที่เราไม่เห็น เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น แต่ว่าใจนี้จะเป็นผู้บงการการกระทำของเราทั้งหลาย จึงต้องพยายามดู แต่ใจนี้เราไม่ดูก็ไม่เห็น ถ้าดูด้วยตา ด้วยตาที่มองดูภูมิประเทศ ดูใครต่อใครดูตึกอาคารนั้น ตานั้นจะไม่เห็น ท่านก็เรียกว่าตาใจคือความรู้ ตาใจนั้นก็คือเป็นสิ่งที่จะใช้สำหรับได้ปัญญา ได้เห็นแสงสว่างของปัญญา
คราวนี้เราก็เจอแล้วว่า ส่วนหนึ่งของสวิตซ์ไฟหรือส่วนหนึ่งของกลไกที่จะทำให้มีความสว่างคือใจ ใจนี้เมื่ออยากทราบก็จะต้องปฏิบัติหลายอย่าง ตอนแรกเราจะไม่เห็นใจ เพราะว่าเมื่อเราดูไปเราก็เกิดความฟุ้งซ่าน เราเกิดความรู้สึกโลภ รู้สึกอาจจะโกรธด้วยซ้ำ จึงทำให้มีสิ่งที่มาปิดคือปิดด้วยสิ่งที่ท่านเรียกโมหะ คือความโง่ความไม่รู้หรือรู้ไม่จริง มันปิดบังใจและปิดบังความจริง ฉะนั้น จะต้องหาทางที่จะเปิด เปิดม่านนั้น เมื่อเปิดม่านนั้น ก็จะต้องพยายามที่จะทำให้ใจนี้สงบ อันนี้ก็มาถึงที่เรียกว่าสมถะหรือสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่ว่า บางคนก็บอกว่าการนั่งสมาธินี้ ระวังดี ๆ อาจจะเป็นบ้าก็ได้ อาจจะแย่ ลำบากไม่มีทางที่จะทำ น่ากลัว แต่ว่าสมาธินี้ก็ต้องเริ่มอย่างเบา ๆ ก่อน คือว่าจะต้องมี ความตั้งใจให้จิตใจนี้ไม่ไปเกาะเกี่ยวกับอะไรก็ตาม หมายความว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยการ ปัดกวาดสิ่งที่เป็นม่าน หรือจะเป็นสิ่งที่คลุมไม่ทำให้สงบได้ ไม่ทำให้เกิดความนิ่งแน่ได้ การที่จะให้เกิดความสงบคือสมาธินี้ จึงต้องพยายามดูให้เห็นว่าอะไรมาปิดบัง เมื่อถอนสิ่งที่ปิดบังนั้นทันใดก็ได้สมาธิ โดยมากเราจะทำอะไรเราก็คิดถึงอะไรสารพัดไม่แน่ คือหมายความว่าเราไปติดในเรื่องอื่น อย่างสมมติว่าเราจะเดินเดินไปไหน ถ้าสมมติเราลุกขึ้นยืน แล้วเราอยากออกจากห้องโถงนี้ เราไม่เห็นประตู เราไม่เห็นอะไร เราจะต้องถอนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าตาเราก่อน หันไปในทางที่จะเห็นสิ่งที่เหมาะสมในการกระทำคือประตู ถ้าสมมติว่าเราดูฝาผนังหรือดูม่านหรือดูเพดาน สิ่งเหล่านั้นมันปิดบังไม่เห็นประตู เราก็จะต้องเอา จิตใจของเราออกไปจากฝาผนัง หรือออกจากเพดาน หรือออกจากม่าน เอาไปไว้ที่ประตู หมายความว่าขั้นแรกเราต้องการประตู เราก็จะต้องทิ้งฝาผนังหรือเพดานหรือม่านที่เรากำลังดู หมายความว่าสิ่งที่กีดขวางไม่ให้สามารถที่จะได้เห็นสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราบอกว่า เราดูฝาผนังบ้าง ดูเพดานบ้าง ดูม่านบ้าง เราไม่มีทางที่จะดูประตู แต่ว่าถ้าเราตัดสินใจว่า ตอนนี้ไม่ใช่ภาระของเราที่จะดูเพดาน ดูฝาผนังหรือดูอะไร เป็นภาระที่จะไปหาประตู เราก็จะถอนออกมาจากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ที่กำลังฟุ้งซ่านอยู่ ส่วนมากเรามีความชอบอะไร ก็เรียกว่ามีกามราคะ มีโทสะคือพยาบาท และบางทีก็ไม่ใช่โทสะหรือราคะอะไร มีความฟุ้งซ่านแกว่งไกวไปที่โน่นที่นี่ เดี๋ยวอันนี้ก็ไม่เอา อันโน้นก็ไม่เอา มันไม่มีทางที่จะมีความสงบ หรือบางทีเราก็พยายามหาความสงบ เราไม่มีความเพียรพอ เรามันง่วงเรามันหาว บางที่เราก็เกิดมีสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถ มันย่อหย่อน บางทีก็ไม่เชื่อว่ามีประตูด้วยซ้ำ ต้องปัดกวาดความลังเลสงสัยอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ สื่งที่ไม่ดีคือสิ่งที่ทำให้เราฟุ้งซ่าน ทำให้เราไม่สามารถที่จะทำใจให้นิ่ง ๆ เพราะว่ามีสิ่งที่มาปิดบังดังนี้ แต่ถ้าเราพยายามที่จะดูว่ามีสิ่งที่ปิดบัง และก็บอกว่าเอา ตอนนี้มันไม่ใช่เรื่องไม่ใช่เวลาที่จะเอาสิ่งมาปิดบัง ถอนปิดบัง เหล่านี้ เราก็ได้สมาธิ ได้ทันทีเลย นี้เรียกว่าสมาธิ
สมาธินั้นเราอาจจะได้เป็นเวลาเพียงครึ่งวินาที นั้นก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ว่าเป็นสมาธิย่อที่อ่อนมาก แต่ก็เป็นสมาธิ ข้อสำคัญที่จะต้องได้อันนี้ ให้เป็นว่าสมาธิคืออะไร โดยมากคนเราเมื่อเป็นเด็กเป็นนักเรียนท่านก็สอน คือหมายความว่าครูบาอาจารย์หรือพ่อแม่ก็สอน ให้ตั้งจิตตั้งใจเรียน ก็หมายความว่าทำสมาธินั้นเอง แล้วเราก็เรียนว่าถ้าเราตั้งใจในสิ่งนั้น ๆ ให้ดีมันก็ทำได้ เรียกว่ามีสมาธิ เพราะว่าจิตเราไปเพ่งอยู่อันเดียว แต่คนเราถ้าไม่มีสมาธิ เสียเลย หมายความว่าเป็นคนฟุ้งซ่านจริง ๆ เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง จะเรียนอะไรไม่ได้ จะอ่านหนังสือไม่ได้ จะพูดก็ไม่ได้ ไม่มีทางอะไรเลย คือว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคนก็มีสมาธิ ไม่ใช่ว่าคนเราเราเสียใจเหลือเกินว่าเรามันขาดสมาธิ ถ้าคิดว่าเราขาดสมาธิเท่ากับเรามีสมาธิอยู่แล้ว เพราะรู้ว่ามีคำว่าสมาธิ เราได้เรียนรู้แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิในตัวเลย หมายความว่าไม่มีความดีเลยในตัว ก็ไม่สามารถที่จะแม้จะคิดว่ามีคำว่าสมาธิ ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัวสมาธินี้ซึ่งเรามีทุกคน เรามีความดีอยู่ในตัวทุกคน แต่ให้เห็นว่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือจากสมาธิที่เรามีธรรมดา ๆ ที่เมื่อเด็ก ๆ ครูบาอาจารย์พ่อแม่ได้สั่งสอนบอกว่าต้องตั้งใจ แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสมาธิ เพราะเหตุว่าการที่จะปัดกวาดสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ ที่ท่านเรียกว่านิวรณ์ การปิดกันนี้เราจะเอาออก มันต้องมีสมาธิ
อันนี้ พวกเราที่อยากจะศึกษาสมาธิ และศึกษาการปฏิบัติธรรมติดอยู่ตรงนี้ เพราะว่าเราไปหาอาจารย์ท่านบอกว่าต้องทำสมาธิ มีนิวรณ์ 5 อย่างนั้น ๆ มีสิ่งที่ปิดกั้น การที่จะทำให้สิ่งที่ปิดกั้นนั้นออกจะต้องตั้งใจ ต้องมีสมาธิเพื่อที่จะเอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก เราก็งง แล้วโดยมากไม่มีที่ไหนที่จะสอนให้ทำสมาธิโดยไม่ได้บอกว่าให้เอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก บอกว่าต้องระงับนิวรณ์ทั้งนั้น ก็หมายความว่าการระงับนิวรณ์นี้ต้องใช้อะไร ก็ต้องใช้สมาธิ จะทำอย่างไร ไก่มาก่อนไข่หรือไข่มาก่อนไก่ ความจริงใช้สมาธิระงับนิวรณ์จริง ๆ ท่านไม่ได้พูดผิด แต่ว่าเรามันไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าเราต้องการสมาธิแล้วเราต้องใช้สมาธิเพื่อระงับนิวรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ว่าถ้าเข้าใจแล้วว่าสมาธิเรามีอยู่ทุกคน มิฉะนั้นเราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่มีสมาธิหรือไม่มีทุนเดิม เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่ว่ามีความฉลาด มีความดี มีวาสนาทุกคน ทุกคนมีมากหรือน้อยเท่านั้นเอง หรือดีหรือชั่วเท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งแล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทำสมาธิได้ เพราะเหตุว่าเราได้ทำมาแล้ว เราทำมาถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีความดีอยู่ในตัว ความชั่วมี แล้วก็โดยมากใคร ๆ ก็ว่ามนุษย์มีกิเลส มีความชั่วเลวทรามต่าง ๆ ต้องขัดเกลา เราก็หัวหดเลย แต่ว่าความจริงไม่เป็นเช่นนั้น คือความจริงทั้งหมดที่ครบถ้วน ไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรามีความเลวความชั่วในตัวทุกคนมากหรือน้อย โดยมากก็มาก แต่ว่าเรามีความดี เรามีความดีทุกคนมากหรือน้อย แต่โดยมากก็น้อย อย่างไรก็ตาม มีน้อย ๆ นี่มันเป็นทุนเดิมทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มี ทุกคนสามารถที่จะปฏิบัติงานของธรรมนี้ได้ทุก ๆ คน ไม่เว้นทุกคน แต่ว่าจะต้องหารือขุดความดีที่เรามีเป็นทุนเดิมนี้มาทำให้เกิดความดีเพิ่มขึ้น ฉะนั้น ก็ใช้สมาธิที่มีอยู่เดิม อาจจะสมาธิแย่ ๆ ก็ได้ แต่ว่าเป็นสมาธิมากระตุ้นทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้น ฉะนั้นสมาธิที่ดีขึ้นนั้นก็มีได้ทุกคน ก็อาศัยความเพียร ความอดทนที่อาจมีสมาธินี้ ก็เปรียบเทียบไว้กับไฟฉายเล็ก ๆ หรือไม้ขีดไฟริบหรี่ ไฟริบหรี่นั้นก็สามารถที่จะใช้อันนี้สำหรับไปทำให้สมาธิใหญ่ขึ้น ดีขึ้น อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้สมาธิ
สมาธินี้ถ้าเราเอามาใช้คือสร้างสมาธิให้ดีขึ้นหน่อย แล้วเอามาใช้ ไม่ต้องทำสมาธิ ให้หนักแน่นมากนัก แต่ว่าเป็นสมาธิที่ควบคุมได้ เราทำสมาธิให้นิ่ง จิตใจให้นิ่ง ก็จะมาเห็นใจของเรา ใจจะไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับ ใจจะเป็นสิ่งที่เปิดเผย คือเราเปิดเผยกับตัวเอง ถ้ากลัวว่าคนอื่นจะมาเห็นใจเรา จะมาทะลุทะลวงเข้ามาในใจเรา ไม่ต้องกลัว เราทะลุทะลวงเข้ามาในใจของตัวเอง เราก็ดูใจนี้ก็จะเห็นได้ต่อเมื่อใจนั้นได้รับที่เรียกว่า อารมณ์ คือสิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตา ได้ฟังด้วยหู เป็นต้น เวลาเข้ามาแล้วเราจะเห็นว่าใจนี้ อันนี้พูด อย่างลับ ใจนี้จะมีความรู้สึกอย่างไร คือตัวใจนี้เป็นรูปร่างอย่างไร ใจนี้จะชอบ ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อันนี้ใช้สมาธิที่ทำให้ใจนี้นิ่งก่อน แล้วก็เมื่อมีอารมณ์ ซึ่งอารมณ์เข้ามาทุกเมื่อตลอดเวลา อารมณ์เข้ามา เรากั้นอารมณ์นั้นไว้เท่าที่มีความสามารถ ด้วยการระงับนิวรณ์ ใจนั้นจะกระเพื่อม ถ้าเปรียบเทียบได้จะเห็น จะเห็นในใจของแต่ละคน ถ้าคิดจริง ๆ ดูว่าใจนี้เป็นเหมือนน้ำที่นิ่ง สมมติว่าเราเอาน้ำมาไม่ต้องมาก เอาน้ำมาใส่ชาม อ่างก็ได้ กลับบ้านไปหาชามอ่างเอาน้ำมาใส่ให้เต็ม เอาชามอ่างนั้นมาวางไว้แห่งหนึ่ง น้ำ นั้นจะนิ่ง ทิ้งไว้ให้นิ่งสักครู่ คราวนี้เปรียบเทียบกับใจ ใจหรือน้ำนิ่งนั้น แล้วเราก็ไปหาอะไรอย่างหนึ่ง จะเป็นก้อนกรวดหรือจะเป็นอะไรก็ตามโยนลงไป น้ำนั่นเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม หรือชามอ่างนั้นวางไว้ เราไปผลัก น้ำจะเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม เราจะเห็นน้ำกระเพื่อม กระเพื่อมอย่างไรเราก็เห็น ถ้าเราโยนอะไรเล็ก ๆ ลงไป น้ำจะกระเพื่อม ก็เหมือนเป็นคลื่นเล็ก ๆ เสร็จแล้วถ้าเราผลักเอา มันก็จะกระเพื่อม กระเพื่อมไปคนละอย่าง ถ้าเราเอาน้ำใส่เต็มอ่าง ชามอ่างนั้นอาจจะทำให้น้ำกระฉอกออกมา หรือถ้าเราโยนอะไรที่ใหญ่ลงไป น้ำต้องกระเซ็นออกมาทำให้โต๊ะหรืออะไรที่เราวางไว้เปียกหมด ถ้าเราผลักน้ำก็อาจจะต้องหก นี่แหละใจ เราจะเห็นได้ว่าใจของเราเมื่อได้รับการกระทบอย่างไรก็ตาม ด้วยอารมณ์ใดก็ตาม ใจนั้นจะกระเพื่อม คือใจนั้นจะเหมือนน้ำ ใจนั้นจะมีคลื่น ใจนั้นจะทำให้มีความเคลื่อนไหว เราก็เห็นได้ ถ้าใจนั้นโดนอย่างแรง ก็อาจจะหกอาจจะออกมา หมายความว่าสมมติเราอยู่เฉย ๆ ใครเข้ามาตีหัวเราหรือมาต่อยเราก็โกรธแล้วก็ต่อยตอบไปเลย นี่ใจมันหกออกมา เราก็ดู ในการดูใจนี้ก็เป็นการดูปฏิกิริยาของใจ ความเคลื่อนไหวของใจ คราวนี้ก็ได้ถึงเห็นใจแล้ว ใจที่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวต่าง ๆ และก็ใจนี้ทำให้เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ ใจนี้เองเมื่อมีความสุขบางทีก็ลิงโลดดีใจมาก อาจจะทำให้เสียหายก็ได้ กระโดดโลดเต้นหกคะเมนลงมาขาหักก็ได้ เป็นสิ่งธรรมดา คือหมายความว่าแม้แต่มีความสุขก็ทำให้มีความทุกข์ต่อไปได้
พุทธศาสนาศึกษาอะไร ก็ศึกษาความทุกข์นี่เอง ความทุกข์เป็นสิ่งที่คนไม่ชอบจึงต้องการให้พ้นทุกข์ พ้นทุกข์สำหรับตัวเองแต่ละคน ๆ แต่ว่าการให้พ้นทุกข์นี้ยากมาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่าไม่เป็นทุกข์ มีความรู้สึกว่าเป็นสุขอยากได้ความสุข แล้วก็ใครมาทำให้เราเป็นทุกข์หรือแม้แต่มีความสุขน้อยลงไป ก็ทำให้เราโกรธ ทำให้เราไม่พอใจ แล้วก็เดือดร้อนฟุ้งซ่านไม่มีความสุข แล้วก็มีความทุกข์ ฉะนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือ การศึกษาว่า ทุกข์นี้มาจากไหน ทำไมเราไม่ชอบความทุกข์ เราเป็นทุกข์ในทุกข์ เราก็จะต้องดูทุกข์นี้เป็นอะไร ให้เข้าใจว่าคืออะไร แล้วเราก็จะต้องเห็นว่าทุกข์นี้มีเหตุผล มีต้นเหตุ เมื่อมีต้นเหตุแล้วเราก็จะต้องดูว่า เราระงับทุกข์ได้ตรงไหน บอกว่ามีทุกข์ต้องบรรเทาทุกข์ ความจริงทุกข์นั้นบรรเทาไม่ได้ ต้องปล่อยให้ไปตามเรื่องของมัน ก็เสร็จแล้วมันก็หายไป เพราะว่ามีทุกข์ มันก็ไม่มี มันก็หมดไปได้ สุขมีสุขก็หมดไปได้ ฉะนั้น การที่พระพุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้าให้เราศึกษา ก็คือศึกษาให้เห็นว่าทุกข์มันมาจากไหน ให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เป็นอะไร แล้วก็ทุกข์มาจากไหน จะเห็นว่ามีทุกข์ก็ต้องมีการไม่ทุกข์ เมื่อมีการไม่ทุกข์ก็มีการหมดทุกข์ได้ มีการหมดทุกข์ได้แล้วก็เห็นได้ว่ามีทางที่จะหมดทุกข์ อันนี้ท่านก็เรียกว่าอริยสัจ
ฉะนั้น การศึกษาพุทธศาสนาก็คือการศึกษาอริยสัจนั้นเอง แต่ก่อนที่จะศึกษา ถึงอริยสัจหรือได้ทราบถึงอริยสัจ ก็ย่อมต้องดูกลไกของการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้าใจว่าจะต้องเริ่มจากที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้นี้คือจุดเริ่มต้น คือดูใจด้วยเครื่องมือที่มีคือสมาธิ ในการนี้ในตอนต้นนั้นก็ต้องมีความพอใจในการที่จะปฏิบัติคือชอบใจ มีฉันทะ แล้วก็มีความเพียรในการทำ มีความจดจ่อในการทำ มีความสำรวจในการทำ ถ้าหากว่าตั้งแต่ต้น สามารถที่จะทำอย่างนั้น ก็จะเคลื่อนขึ้นไป จะดำเนินไปถึงจุดสุดยอดได้สูงสุด คือได้ ศึกษาอริยสัจและเข้าใจในอริยสัจ การศึกษาพระพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ไม่ยากถ้าจิตใจจดจ่อ ถ้ามีความตั้งใจจริง และมีความซึ่งเรียกกันทุกคนว่าความสุจริต ทุกคนต้องสุจริต ถ้าทุจริตแล้วไม่มีทาง เพราะว่าไปในทางที่ผิดทุกครั้ง ไปในทางที่คิดว่าดีคิดว่าสะดวก แต่ว่ามืดมนไปในทางที่ผิดทั้งนั้น ฉะนั้นต้องมีความสุจริต เวลาให้โอวาทกับใคร หรือใครท่านผู้ใหญ่ให้โอวาทกับผู้อื่น ก็ต้องพูดว่าขอให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วางตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต อันนี้ก็เพื่อให้งานของส่วนราชการหรือส่วนงานนั้น ดำเนินไปด้วยดี เพราะว่าถ้าทุจริตแล้วก็พัง แต่ว่าการงานของพระพุทธศาสนาเป็นการงานของแต่ละคนเป็นส่วนตัวแท้ ๆ ก็ต้องทำด้วยความสุจริตเหมือนกัน ถ้าไม่ทำด้วยความสุจริต แล้วตัวเองก็เท่ากับเอาก้อนหินมาถ่วงที่คอแล้วโยนลงไปในนรก
ได้พูดเมื่อวันที่ 4 พูดถึงผี อันนี้พูดถึงผีอาจจะไม่ค่อยเข้าใจกัน นี่ขอพูดอีกสักนิดหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตอนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพุทธศาสนานัก แต่เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นความจริง คือคนเราไม่เห็นว่า เรามีกายและใจซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เท่ากับได้มีใจนี้ คือตัวเรามาประกอบกับกาย ซึ่งเราก็นึกว่าเป็นตัวเราเหมือนกัน แต่ว่ากายกับใจนี้ก็สามารถที่จะนำมาใช้มาทำงานทำการมาประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี เพื่อความสุขความเจริญของกายหรือใจ หรือของกายและใจ ฉะนั้น ต่อไปเมื่อกาย และใจนี้แยกออกไปก็ว่าเป็นผี เพราะว่ากายที่ไม่มีใจเขาก็เรียกว่าผี ผีความจริงก็เรียกว่าศพ แต่ว่าเขาก็เรียกว่าผี ผีเป็นสิ่งที่ไม่มีใครชอบ โดยเฉพาะว่าเป็นกายที่ไม่มีใจแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเลย เพราะว่าเป็นตามธรรมดา กายนี้เมื่อไม่มีใจอยู่แล้วก็ย่อมจะต้องสลายออกไปเป็นธาตุ แล้วก็เป็นผี แต่ใจนั้นเวลาไม่มีกายแล้วก็เป็นผีเหมือนกัน คือว่าที่ว่าจิตวิญญาณหรืออะไรก็ตามที่ตายแล้ว แล้วก็เรียกว่าผี บางทีผีมาหลอก ก็แปลกเหมือนกันที่ว่าทำไมจึงมาหลอกได้ ทว่าผีหลอกได้นั้นก็เพราะเหตุว่า ผีนั้นหมายความว่า จิตวิญญาณนั้นยังยึดมาก ยังยึดจนกระทั่งกำลังยึดนั้นกลับมาเหมือนมายึดจิตใจของผู้ที่ เห็นผี มายึดได้ชั่วขณะก็ได้เห็นว่าเป็นผี แต่ว่าผีนั้นจะเป็นผีกายที่ไม่มีใจหรือใจที่ไม่มีกาย ผีนั้นไม่มีความสามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าเวลากายกับใจประกอบกันเป็นตัวบุคคล โดยเฉพาะเป็นมนุษย์ สามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าแยกไปแล้วไม่สามารถที่จะประกอบความดี แต่เมื่อประกอบกันแล้ว แล้วก็ทำความดี ผีนั้นก็เป็นผีที่เรียกว่าเป็นผีดีคือเป็นผีที่มีคุณ เป็นเทวดา เป็นพรหม คือเป็นผีที่ให้คุณและเป็นคุณกับตัว ถ้าประกอบความไม่ดีคือทุจริต ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ก็เป็นผีไม่ดี ก็เป็นเปรตเป็นอสุรกาย ผีนั้นความจริงก็ดูไม่มีกายแต่ว่าอาจจะมาหลอกเราได้เช่นเดียวกัน เพราะว่ามายึดกายเรา มายึดตาเรา มายึดหูเราได้ แต่ว่าถ้าผีนั้นที่เมื่อมีกายทำไม่ดีเป็นผีไม่ดีนั้น เขาจะแก้ไขอะไรไม่ได้เหมือนกัน จะต้องทนทุกข์ทรมาน จะทนทุกข์ทรมานได้อย่างไรเมื่อไม่มีกาย แต่ความที่เป็นผีนั้นเองก็เลยมีความยึดนึกว่าตัวมีกาย อย่างเช่นพวกเราเอง ใจเราเราก็นึกว่าตัวเรามีกาย แต่แท้จริงก็เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นกอง ๆ เท่านั้นเอง แต่ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ตัวมีกายแต่ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส อย่างเปรตหิวข้าวตลอดวัน ตลอดคืนตลอดเวลา กินก็ต้องกินตลอดเวลา แต่กินไม่ได้ มันก็ทรมานอย่างยิ่ง อย่างพวกเราเวลาไปไหน ๆ หรือเวลาแม่ครัวไม่ได้ทำกับข้าวให้กิน เราก็หิว มันทรมาน บางที เราไปที่ไหนไม่มีอาหาร เราไม่มีอาหาร ควรจะได้อาหารกลางวันอาหารค่ำไม่มี เราหิวมันก็ทุกข์ทรมาน ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ก็ต้องกินอาหาร เมื่อกินไม่ได้อย่างเปรตที่ว่าปากเป็นรูเข็ม ไม่สามารถจะกินอะไร มันหิวทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง นี้ก็เป็นทุกข์ที่ยังไม่มากนัก อย่างอื่นยังมากกว่าอีก เช่น เอาอะไรมาเสียบแทงทะลุหัวจนถึงทวารหนัก ที่ท่านว่าอย่างนั้น แทงด้วยเหล็กที่เป็นไฟ แล้วอาจจะลงกะทะทองแดงหรืออะไรก็ตาม นั่นนะเป็นความทุกข์ที่ผีมี ที่ผีไม่ดีมี เป็นความทุกข์อย่างแสนสาหัส แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้หมดเวร หมดกรรม หมดเวรหมายความว่าหมดวาระเวลาที่จะหมดความทุกข์ทรมาน แล้วก็สามารถ ที่จะไต่เต้าขึ้นมาเป็นคนอีก ถ้าคนเช่นนั้นขึ้นมาก็หมายความว่าเป็นคนที่ยังไม่ค่อยขัดเกลานัก แต่ว่าขึ้นมาก็พอที่จะได้มาเป็นคน บางคนเราเห็นว่าเป็นคนเลวทรามมาก เราก็ว่ามันพวกสัตว์นรก ก็เพราะว่าพวกนี้จิตใจยังเสื่อมอยู่ จิตใจยังไม่ได้ขัดเกลา แต่พวกนี้ที่ขึ้นมาได้แล้วก็สามารถที่จะมีสมาธิได้ และสามารถที่จะมีการขัดเกลาเรียนธรรมได้แน่นอน ไม่ใช่ไม่มี เพราะฉะนั้น ที่พูดถึงผีนี่ไม่ใช่ที่จะชักชวนให้ท่านทั้งหลายได้สนใจเกี่ยวข้องกับวิชาผี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่านึกถึงว่าแต่ละคนก็เป็นผี ทุกคนเป็นผี เป็นผีมาแล้วและจะเป็นผีต่อไป เมื่อเป็นผีมาแล้ว แล้วก็ได้ประกอบกรรมดีมาพอสมควร ได้เกิดมาเป็นคนหรือเป็นมนุษย์ เราก็พยายามประกอบความดีขึ้นเพื่อให้เป็นผีดีต่อไป เมื่อเป็นผีดีต่อไปก็สามารถ ที่จะได้มีภพมีชาติที่ดีขึ้นไปต่อไป แต่ก็ต้องระวังเหมือนกัน แม้จะเป็นผีดีแล้วไปหลงในความดีความสบายของผีแล้วก็อาจจะตกนรกต่อไปได้มีเหมือนกัน ฉะนั้น ก็ต้องพยายาม ที่จะต้องพิจารณาว่า ระหว่างนี้ที่เรามีกายกับใจประกอบกัน ให้ดูกายให้ถูกต้อง ให้ดูใจให้ถูกต้อง แล้วก็จะสามารถที่แม้จะเป็นผีก็เป็นผีที่ดีได้ แต่ว่าถ้าความปรารถนาสูงสุดคือ ปรารถนาที่จะให้หลุดพ้นจากการที่จะต้องเป็นผี อย่างพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ท่านไม่ต้องเป็นผี ท่านไม่ได้เป็นผี ท่านหลุดพ้น เรียกว่าพ้นไปได้ ต้องแยกกายกับใจ อย่างพวกเรา ๆ ที่ยังไม่ได้ความหลุดพ้น ถ้าหากว่าทำจิตใจให้ผ่องใสแล้วก็ได้ดูจิตของเรา หรือใจของเรา แล้วก็ดำเนินให้จิตใจของเราพยายามที่จะเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตกต่ำเป็นผีไม่ดี พยายามทำอะไรที่จะทำให้ดีขึ้น จะเรียกว่าทำให้ผ่องใสขึ้น ทำให้มีความสุขขึ้น ให้ทำอะไรที่สุจริตก็จะเป็นผีดีก็คือเทวดา และการเป็นเทวดาเท่ากับได้มีเวลาไปพักผ่อนในที่ ๆ สบาย แล้วก็ต่อไปก็สามารถที่จะกลับมารับราชการโลกต่อ เป็นคนก็จะเป็นมนุษย์ที่ดี แล้วก็ขัดเกลาไปขัดเกลามาก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่หลุดพ้น อันนี้ก็เป็นความปรารถนาของพุทธศาสนา
พูดมานานก็เพราะว่าพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสนใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนจะได้ ประโยชน์ถ้าเข้าในทางที่ถูก และเป็นสิ่งที่ไม่ยากที่จะปฏิบัติ พูดว่าไม่ยากในการปฏิบัติ ไม่น่าที่จะพูดนานถ้าเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ แต่ว่าจะง่ายถ้าตั้งจิตให้ถูกที่ถูกทางด้วยความเพียรและด้วยความจดจ่อ ด้วยความรู้รอบคอบคือการสำรวจให้ดี ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้าได้พูดให้ ยาวก็เพราะว่า สิ่งที่ง่ายนี้ทุกคนอาจจะยังไม่เห็นหรือเห็นยาก เห็นยากในสิ่งที่ง่ายจึงต้องพูดยาว แต่ถ้าทุกคนเห็นสิ่งที่ง่ายนี้แล้วก็ไม่ต้องพูดยาว ถ้าสมมุติว่าทุกคนเห็นว่าง่ายจริง ๆ หมายความว่าเห็นส่วนที่ง่ายจะพูดได้สั้นมาก คือท่านทั้งหลายขอให้มีความเพียรในการปฏิบัติจิตที่ถูกต้องที่ดี อันนี้ก็หมด พูดแค่นี้ก็พอ ไม่ต้องพูดอื่น ถ้าพูดอย่างนี้ก็ยังยาว ถ้าท่านทั้งหลายมาแล้วก็รู้ว่าทุกคนรู้ว่าง่ายแล้วรู้จริง ไม่ใช่รู้เก๋ ๆ เฉย ๆ รู้จริงว่าง่าย บอกว่า สวัสดีเท่านั้นเองก็พอ ไม่ต้องมานั่งมายืนให้เมื่อย ไม่ต้องมาพูดให้คอแห้งเปล่า ๆ ก็เพียงว่าสวัสดี เพียงว่าปฏิบัติดีชอบก็พอ แต่มันยากที่ว่าไม่เห็นว่าง่าย ฉะนั้น ในที่นี้ก็พูดเกินไปพูดมากไปก็จะเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะว่าอาจจะมีคนคัดค้านได้ในคำพูดที่พูดออกไป ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าเป็นทฤษฎี ความจริงไม่ใช่ทฤษฎีแหวกแนวอะไร เป็นส่วนหนึ่งของการสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแท้ ๆ ไม่ใช่สิ่งที่คิดค้นขึ้นมาโดยไม่ได้มีหลักฐาน
ฉะนั้น ถ้าท่านทั้งหลายมาวันนี้มาให้พร คือตามที่บอกมาเป็นทางการว่า มาให้พรในโอกาสวันเกิดที่ผ่านมาแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านมาที่นี่แล้วท่านก็ต้องมานั่งอยู่นาน แต่ก็ขอขอบใจที่ท่านมาด้วยปรารถนาดี และจะดีใจมากถ้าทุกคนที่อยู่ในกลุ่มสมาคมหรือชมรม หรือชุมนุมที่จะศึกษาพุทธศาสนา จะไปคิดทบทวนหน้าที่ของกลุ่มต่าง ๆ และหน้าที่ของแต่ละคนดังกล่าวนี้ ที่ว่าไม่ใช่ว่าจะบอกว่าเผยแพร่พระพุทธศาสนา สั่งสอนพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขอให้ได้ไปปฏิบัติแต่ละคนในจิตใจของแต่ละคน และทุกคนจะเป็นศาสนาใดก็ตามในประเทศไทย ก็จะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติของท่าน คือว่าเป็น ประโยชน์ผู้อื่นในการปฏิบัติประโยชน์ของตน ฉะนั้น ถ้าทุกคนได้ปฏิบัติประโยชน์ของตน อย่างแท้จริง อย่างจริง ๆ ไม่ใช่เบี่ยงบ่ายไปในทางทุจริต ทำจริง ๆ ในประโยชน์ของตน ของธรรมของตัว หรือของโลกของตัว เป็นอันว่าได้ประโยชน์แล้วสำหรับทุกคนในโลก อาจจะมีประโยชน์สำหรับผีทั้งผีดีไม่ดี ถ้าเราทำดีแล้วเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนทุกตนที่มี อยู่ในโลกหรือโลกอื่น เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งหมด เพราะว่าแผ่ความดีแผ่รัศมีเช่นเดียวกับที่เราว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ท่านตรัสรู้แล้วก็แผ่รัศมีออกมา เราได้รับทั้งนั้น แม้จะเป็นคนที่ไม่ใช่พุทธศาสนา ก็ได้รับประโยชน์ของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
อันนี้ก็เพียงแต่ต่อท้ายนิดหนึ่งว่า ที่ท่านมาให้พรก็เพื่อประโยชนส่วนตัวของท่าน ที่ท่านมาบอกว่าให้บารมีปกเกล้าท่านก็ต้องเป็นผู้ทำ ถ้าผู้ทำเองได้ดีแล้วก็ดี มาให้พรก็เห็นว่าถ้าท่านทำตนเองให้ดีก็เป็นการให้พร เพราะฉะนั้นจะว่าขอขอบใจก็ไม่เชิง แทนจะบอกขอขอบใจ ก็ควรจะบอกว่าอนุโมทนา ควรจะบอกว่าดีใจ ดีใจที่ท่านมาให้พร เพราะหมายความว่าท่านตั้งจิตให้ดีแล้ว พรนี้ก็จะแผ่ออกมา แผ่ออกไปทั่วทั้งหมด อันนี้ถ้าพูดต่อไปก็อาจจะต้องพูดถึงแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ ถ้าทำดีนี้ ศึกษาดี ปฏิบัติดี สงเคราะห์ดี ก็เป็นการแผ่เมตตาจนไม่มีประมาณ อันนี้ก็เป็นหัวข้อต่อไป คราวนี้พูดแค่นี้แล้วก็รู้สึกว่ามากเกินไปก็ถึงขอลา แล้วก็ขอบใจท่านทั้งหลายที่มาชุมนุมกัน.
(1) เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
Search Engine API Documentation
พระราชทานแก่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศ
ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันเสาร์ ที่ 13 ธันวาคม 2523
ในโอกาสที่ผู้ที่เป็นผู้สนใจในพระพุทธศาสนา เป็นสมาชิกของพุทธสมาคมและ สมาคมเครือทางพุทธศาสนา และผู้ที่สนใจอื่น ๆ ได้มาประชุมกัน เพื่อปรึกษาหารือในปัญหาของพุทธศาสนาในทุกด้าน ได้มาให้พรในโอกาสคล้ายวันเกิด ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ปลาบปลื้ม และทำให้มีความรู้สึกกังวลใจอยู่บ้าง ท่านนายกพุทธสมาคมได้ยกยอปอปั้น อย่างมากว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติทางพุทธศาสนาอย่างชำนิชำนาญ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ลำบากที่จะรับ แต่ก็ได้ขอให้ให้โอวาท
ข้อแรกเนื่องจากที่ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายหวังในบารมีให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้น ก็เป็นข้อหนึ่งที่น่าคิด เพราะว่าบ้านเมืองประกอบด้วยบุคคล และแต่ละบุคคลจะต้องทำด้วยตนเองตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่ละคนต้องการอะไร ก็ต้องการความสุขคือ ความสงบ ความสุขและความสงบนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง ฉะนั้น ที่จะให้คนอื่นมาปกป้องรักษาก็เป็นสิ่งที่ยากถ้าตัวเองไม่ทำ อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเองมิใช่พึ่งคนอื่น แต่การที่จะอาศัยคนอื่นก็อาศัยได้โดยดูผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสิ่งที่ผู้อื่นที่เราเห็นว่าปฏิบัติดีชอบ ได้พูดได้แนะนำ ดังนี้ก็เป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ผู้อื่นจะช่วยเราได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมีการพิจารณาของตัวเอง ว่าผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติหรือฟังข้อแนะนำในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้ อันนี้ก็ได้ชี้แจงตามที่ได้กล่าวมาเมื่อตะกี้
มาถึงปัญหาของพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ลำบากที่สุดที่จะเห็นพระพุทธศาสนา และประโยชน์ของพระพุทธศาสนา เพราะแต่ละคนก็มีกายและใจของตัว แต่ละคนก็มีความรู้หรือปฏิปทาของตัวแล้วแต่ภูมิแต่ชั้น การที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนานั้น ย่อมจะเป็นแล้วแต่บุคคล แล้วแต่สภาพของตัว จะเรียกว่าสภาวะหรือสภาพหรือฐานะของตัว ฐานะนี้ไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงินการทองหรือความเป็นอยู่ แต่เป็นฐานะของจิตของแต่ละคน ฉะนั้น พุทธศาสนาถ้าว่าไปเป็นสิ่งที่ลุ่มลึก ที่ลำบากที่จะสั่งสอนหรือที่จะเรียน เพราะว่าแต่ละคนจะต้องทำตามฐานะของตัว หรือจะว่าได้ว่าพุทธศาสนามีหลายชนิด แต่ละคนก็มีพระพุทธศาสนาของตัว ฉะนั้น การที่จะสั่งสอน การที่จะชี้แจง การที่จะฟัง การที่จะเรียนพระพุทธศาสนานั้น จะต้องพยายามที่จะทำด้วยตนเอง
มาพูดถึงหน้าที่ของแต่ละคนหรือหน้าที่ของแต่ละสมาคม ที่สนใจพุทธศาสนา ก็มีมากหลาย เพราะจะต้องแบ่งพุทธศาสนานี้ออกเป็นหลายสาขาหรือหลายด้าน ด้านหนึ่งก็คือเรื่องของสังคม คนเรามีความว้าเหว่ใจก็จะต้องหาเพื่อนฝูงที่จะเข้าหากัน และได้มีการสังสรรค์ได้มีการปรึกษาหารือ เพื่อที่จะหาทางที่จะบรรเทาความเดือดร้อนความขุ่นใจ ที่มีความลำบากใจลำบากกาย จึงได้ตั้งขึ้นมาเป็นสมาคมเป็นชมรมเป็นกลุ่มเป็นชุมนุม ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาพระพุทธศาสนา บางทีก็เรียกว่าพุทธสมาคม บางทีก็เรียกว่าชุมนุมพุทธศาสตร์ บางทีก็เรียกว่าชุมนุมพุทธศาสนา เป็นต้น เมื่อมีชื่อหลาย ๆ ชื่อก็เข้าใจได้ว่า มีจุดประสงค์หลาย ๆ จุดประสงค์ จุดประสงค์แรกคือการศึกษาพุทธศาสนานั้น มีการศึกษาได้อีกหลายทาง ศึกษาประวัติของพุทธศาสนา ศึกษากลไกของพุทธศาสนา และศึกษาประโยชน์ของพุทธศาสนาต่อสังคม และในที่สุดก็มีศึกษาเพื่อปฏิบัติธรรม แม้การปฏิบัติ ธรรมนั้นเองก็มีหลายวิธีหลายสาย บางคนก็เห็นว่าการปฏิบัติหาความสงบอย่างเดียวก็จะพบทางของความสุข บางคนก็บอกว่าทำอย่างนั้นไม่พอ จะต้องหาความสงบ แล้วก็จะหาความรู้พิเศษต่าง ๆ เช่นให้มีตาทิพย์ได้ ให้เห็นทะลุกำแพงได้ ให้เห็นให้ฟังและให้รู้จิตใจของผู้อื่นได้ บางคนก็ปฏิบัติเพื่อให้เห็นความจริง คือความไม่ยั่งยืนของร่างกาย หรือความไม่ยั่งยืนของสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลก ฉะนั้น มีวิธีที่จะปฏิบัติอีกหลายต่อหลายทาง ที่กล่าวอย่างนี้ก็จะให้แสดงถึงว่า แต่ละคนมีความคิดของตัว มีแนวทางของตัว จึงศึกษาหรือปฏิบัติศาสนาต่างกันทั้งนั้น
ถ้าพูดถึงการปฏิบัติธรรม หรือการปฏิบัติศาสนาเพื่อสังคม เราเห็นสังคมมีความวุ่นวาย เราเห็นว่าประเทศชาติมีอันตรายที่จะเข้ามากล้ำกราย เราก็เกิดเป็นห่วง เป็นห่วงทำไม ก็เพราะว่ารู้ว่าถ้าสังคมวุ่นวาย ตัวเราเองก็เป็นอันตรายเพราะไม่มีความปลอดภัย ถ้าเห็นว่าประเทศชาติอยู่ในอันตรายก็เช่นเดียวกัน เราก็รู้สึกว่าตัวเราเองจะต้องประสบภัย ฉะนั้น เราจึงพยายามแก้ปัญหาของสังคม แล้วก็ดูไปข้างนอกว่า มีการฆ่ากัน มีการลักขโมยกัน มีการปล้นกัน มีการแก่งแย่งชิงดี มีการทำให้มีทุจริตต่าง ๆ เราก็อยากที่จะระงับหรือลดหย่อนไม่ให้มีความยุ่งยาก ดังนั้นจึงมาประชุมกันปรึกษากัน ก็ทำกิจการซึ่งจะเรียกว่าการสังคมสงเคราะห์มากกว่าที่จะเป็นการปฏิบัติศาสนา แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติศาสนาคือการสงเคราะห์ การสงเคราะห์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำได้ต่อเมื่อตัวเองดี ต่อเมื่อตัวเองมีความสามารถ แต่ถ้าสงเคราะห์คนอื่นโดยมีรากฐานหรือหลักของการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ในการสงเคราะห์อย่างนั้นก็อาจจะทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ฉะนั้น การที่จะสงเคราะห์จะต้องขัดเกลาตัวเองเสียก่อน จะต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน จะต้องสร้างความดีในตัวเองเสียก่อน ถึงจะสงเคราะห์ผู้อื่นได้ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีจุดประสงค์ที่จะตั้งเป็นกลุ่มพุทธศาสนาเพื่อแก้ไขสังคมหรือแก้ไขภายนอกก็จำต้องศึกษาตัวเองก่อน
ถ้าจะเป็นการชุมนุมกันหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อศึกษาพุทธศาสนาหรือที่เรียกว่า พุทธศาสตร์ มาใช้คำว่าพุทธศาสตร์ก็อาจจะเพราะว่าอยากจะให้ดูเป็นว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งแขนงหนึ่ง เป็นวิชาแขนงหนึ่งซึ่งจะต้องมาศึกษาและมาวิจัย มาศึกษาเพื่อที่จะให้ตั้งเป็นตำรา ทำอย่างนั้นก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะว่าเป็นการประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะให้ผู้อื่นสามารถที่จะได้ใช้ประโยชน์อย่างสะดวกที่สุด จึงทำเป็นการแปลบ้าง การประมวลบ้าง การถกเถียงมีการอภิปรายบ้าง การทำสิ่งเหล่านั้น ถ้าทำด้วยจุดประสงค์ที่ดีและด้วยความสามารถก็ย่อมมีประโยชน์ แต่ว่าถ้ามีการศึกษาวิจัย พุทธศาสตร์ เพื่อที่จะสร้างตำราใหม่ อันนั้นก็ไม่ชอบ เพราะตำรามีอยู่แล้ว ตำราคือคำสั่งสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกและในอรรถกถาต่าง ๆ ครบถ้วน มีจนบอกได้ว่ามีมากเกินความจำเป็นของแต่ละบุคคล แต่ว่าที่ต้องมีมากเพราะว่า อย่างที่กล่าวไว้ว่าแต่ละคนก็มีฐานะของตัว แต่ละคนก็จะได้เลือกได้ การศึกษาดังนี้เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาปริยัติ ปริยัตินั้นก็คือหลักการต่าง ๆ ที่เป็นตำรานั้นเอง การศึกษาปริยัติจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพุทธศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่สมาชิกสมาคมต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนาควรที่จะได้สนใจ
ปริยัตินี้ก็มีการศึกษาได้ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กันเหมือนกัน เช่น ศึกษาปริยัติเพื่อที่จะมาถกเถียงกัน อาจจะเป็นการทะเลาะกันด้วยซ้ำ อันนี้อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก แต่ว่ามีการทำกันมาก มาถกเถียงกันมาก ข้อนี้คนนี้พูดว่าอย่างหนึ่ง อีกคนก็แย้งว่าไม่ใช่อย่างนั้น ก็ถกเถียงทะเลาะกัน บางทีหน้าดำหน้าแดงจนกระทั่งเป็นศัตรูกันก็มี อย่างนั้นเท่ากับได้ศึกษาปริยัติสำหรับมาทะเลาะกัน สำหรับมาหาความทุกข์ สำหรับ มาหาความไม่สงบ จึงเป็นการศึกษาที่อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก เพราะว่าเป็นการศึกษาเพื่อมาโอ้อวดกัน เป็นการศึกษาเพื่อที่จะมาทะเลาะกัน เอาดีก็หมายความว่าเป็นการยึด เป็นมานะที่แรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา มีผู้ที่ศึกษาปริยัติ ของพระพุทธศาสนานี้สำหรับเก็บเอาไว้ ท่านเรียกว่าศึกษาพระปริยัติเป็นขุนคลัง คือหมาย ความว่าเก็บ...เก็บ...เก็บ...เก็บ...เอาไว้ เก็บเอาไว้เพราะว่าอยากเก็บ อันนี้ก็เป็นวิธีอย่างหนึ่ง ที่อาจจะไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก แต่ว่าก็ยังดีกว่าที่จะศึกษาปริยัติมาสำหรับทะเลาะกัน เพราะว่าการทะเลาะนั้นทำให้เกิดความไม่สงบ ทำให้เกิดความรุนแรง ทำให้เกิดแตกแยกกัน ทำให้เกิดทิฐิมานะในตัวเอง ไม่เห็นสว่าง การที่จะศึกษาปริยัติเพื่อเป็นขุนคลังนั้น ก็ไม่ได้ประโยชน์นัก และอาจจะเสียอยู่ที่ว่าเท่ากับเราเป็นผู้ที่เก็บของโบราณ เราเป็นเหมือนคนที่สะสมเพราะว่าเรารักเราชอบ มันก็เป็นโลภหรือเป็นราคะก็ได้ ไม่เป็นสิ่งที่จะขัดเกลาให้เรามีความสบายใจแต่ประการใด อาจจะมีความพอใจที่ว่ามีปริยัติเยอะแยะ มันสนุกดีหรือมันน่าชื่นชมแต่ก็เป็นสุขชั่วแล่น ฉะนั้นการศึกษาปริยัติเพื่อที่จะเก็บไว้เฉย ๆ นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถึงจุดประสงค์ และอาจจะนำไปสู่ความเดือดร้อนบ้างเหมือนกัน เพราะว่าเราเรียน ปริยัติเราสะสมปริยัติ บางทีมันตกหล่นบ้าง บางทีก็ลืมบ้าง ก็เกิดโทมนัสว่า เอ.........ข้อนี้ เราลืมไปเสียแล้ว มันหายไปเสียแล้ว เพราะว่าเราเรียนเราจำมันย่อมลืมได้ โดยเฉพาะ อย่างผู้ที่เคยจำได้ และเดี๋ยวนี้ก็จำไม่ได้ ก็เดือดร้อนกลุ้มใจ ความกลุ้มใจนั้นก็ไม่รู้จะไปแก้ไขอย่างไร เพราะว่าลืมเสียแล้วว่าท่านแก้อย่างไร ลืมปริยัติว่าเวลากลุ้มใจท่านแก้ด้วยอะไร ก็ลืมไปก็กลุ้มใจยิ่งกลุ้มก็ยิ่งกลุ้มว่ากลุ้ม ก็นับว่าการเรียนปริยัติอย่างนั้น เพื่อเก็บไว้เฉย ๆ ก็ไม่สู้จะดี
การศึกษาปริยัติก็มีอีกอย่างหนึ่ง คือศึกษาปริยัติแล้วที่เรียกว่าปฏิบัติ เวลาฟังปริยัติหมายความว่าคำสั่งสอนใด ๆ อ่านคำสั่งสอนใด ๆ มาแล้วก็มาคิด มาคิดให้เข้าใจ มาคิดให้รู้ มาคิดให้แจ้ง อันนี้แหละเรียกว่าปัญญาได้ เวลาพูดถึงปริยัติข้อใดเอามาคิดว่า ท่านหมายความว่าอะไร แล้วมาดูที่จิตใจของเราว่ามันตรงหรือไม่ มีเหตุอย่างนั้นมันตรงไหมที่ท่านสอน อันนี้ก็หมายความว่าเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติมาข้อใดแล้วมีเวลา เมื่อใด ก็มาพิจารณาถึงข้อปริยัติในระหว่างที่ยังไม่ได้ลืมคำสั่งสอนนั้น มาดูจิตใจของเรา การดูจิตใจนี้ก็คือการปฏิบัติ ไม่ต้องมีอย่างอื่น การดูจิตใจนั้นอย่างเดียวเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติ หรือได้ฟังปริยัติ ได้เห็นปริยัติ ได้รู้สึกปริยัติ หมายความว่าได้ไปที่ไหนได้เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ๆ นั่นเป็นปริยัติทั้งนั้น เอามาพิจารณาว่าเวลาเราเจอสิ่งของเหล่านั้น ใจของเรารู้สึกอย่างไร นี้เป็นการปฏิบัติ และมาพิจารณาว่าทำไมมันเกิดอย่างนั้น ก็เป็นการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเมื่อฟังปริยัติ อ่านปริยัติ ประสบปริยัติแล้วมาปฏิบัติคือดูที่ใจ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าปริยัตินั้นลืมไปแล้ว แต่ใจที่สัมผัสและศึกษาอารมณ์ ต่าง ๆ ไม่ลืม ไม่มีทางลืม เพราะว่าเห็นแล้ว เห็นว่าอะไรเป็นจริงแล้ว เมื่อเห็นจริงแล้ว ไม่มีทางลืม
ฉะนั้น การปฏิบัตินั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยมากพูดถึงปฏิบัติก็กลัวแล้ว เพราะว่าปฏิบัตินั้นมีวิธีต่าง ๆ แล้วก็โดยมากวิธีต่าง ๆ นั้นบรรยายกันมาว่า ต้องทำอย่างโน้น อย่างนี้ ต้องทรมาน ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องเสียเวลามาก ไม่สามารถที่จะปลีกตัวออกมาปฏิบัติ ความจริงปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่ของยาก แต่ละคนทำได้ทั้งนั้น แต่ว่าจะต้องมีความตั้งใจ เมื่อเราอยากที่จะปฏิบัติธรรม มีความอยากแล้ว ก็หมายความว่าเรายินดี เราอยากที่จะปฏิบัติ ถ้าเราสนใจพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา เริ่มสนใจก็เริ่มทำได้แล้ว เพราะว่าถ้าคนเราไม่อยากปฏิบัติ ขี้เกียจปฏิบัติ หรือไม่คิดอ่านที่จะปฏิบัติก็ย่อมไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติแล้ว ความมืดก็ครอบคลุมเพราะว่าไม่ได้เปิดไฟ แต่ถ้าเราอยากขึ้นมาและเห็นว่าศาสนานี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ก็ย่อมเป็นการเปิดไฟ แม้จะริบหรี่ก็เป็นความสว่างให้เห็น อย่างเช่นเราเข้าไปในห้องที่มืด แล้วเราก็ไม่รู้จักห้องนั้น ไม่ทราบว่าสวิตซ์ไฟอยู่ที่ไหน เรามีไฟฉายแล้วก็เปิดไฟฉายอันริบหรี่นั้น หรือขีดไม้ขีดที่เป็นแสงสว่างที่ริบหรี่ไปหาสวิตซ์ไฟ ถ้าเราไม่ไปหาสวิตซ์ไฟเราก็ไม่สามารถที่จะเปิดไฟที่มีอยู่ในห้องนั้น คือมีหลอดไฟ มีสายไฟ มีสวิตซ์ไฟ ครบถ้วนในห้องนั้น เราไม่สามารถที่จะหาพบนอกจากจะบังเอิญ โดยบังเอิญเราไปแตะ สวิตซ์ไฟแล้วก็เปิดขึ้นมา แต่ว่าโดยมากก็ต้องหา เมื่อหาได้แล้วด้วยไฟริบหรี่ที่เรามีอยู่กับตัว เราก็สามารถไปเปิดไฟได้ ไฟริบหรี่นี้คือความสนใจเบื้องต้น เมื่อเราไปเปิดไฟได้แล้ว ก็จะสว่างขึ้นมา เราก็จะมีความดีอกดีใจ มีความพอใจว่าทำตามวิธีนี้ได้ผลดี มันสว่าง ไฟที่อยู่ในห้องนั้นอาจจะไม่สว่างเต็มที่ อาจจะมีหลายแห่ง ก็เปิดไฟอันนั้นก็มีความปิติยินดี แล้วเป็นอันว่าเราพอใจในการปฏิบัติเช่นนั้น คือเปิดสวิตซ์ไฟมันมีความสว่างดี เปิดสว่างดี ก็ย่อมมีความพอใจใหญ่ สบายใจ มีความร่าเริงใจ ความร่าเริงใจนี้ ความสบายใจ เบื้องต้นนี้ เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิบัติพุทธศาสนา ท่านเรียกว่าฉันทะ คือ มีความ พอใจในการปฏิบัติ มีความพอใจในการค้นคว้า
เมื่อมีความพอใจในการค้นคว้า เราก็ต้องค้นคว้าต่อไป ไม่ใช่พอใจเพียงแค่นั้น เพราะว่าความสว่างความดีความสุขความพอใจในการปฏิบัตินั้นยังมีอีกมาก ก็ต้องเพียรที่จะปฏิบัติงานของพระพุทธศาสนาต่อไป อันนี้ก็จะต้องมีวิริยะ วิริยะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อเริ่มต้นแล้วต้องมีวิริยะ หมายความว่าต้องเพียร ต้องมีความขยัน วิริยะนี้ก็คู่กับขันติ คือมีความอดทน บางทีเวลาเราทำงานอะไรก็ตามทั้งในทางโลกทางธรรม เราทำงานแล้วเหนื่อย เมื่อเหนื่อยก็ต้องมีความอดทนในความเหนื่อยนั้น ก็ต้องมีความเพียรที่จะปฏิบัติ ต่อไป ฉะนั้น พูดไปก็ต้องเห็นว่าความเพียรกับความอดทนนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานใด ๆ บรรลุผลได้ เมื่อมีความเพียรมีความอดทนแล้วสิ่งอื่นก็มา แต่ในความเพียรใน ความอดทนนี้ก็ต้องมีการเอาใจใส่ การเอาใจใส่นั้นคือติดตามอยู่ตลอดเวลาว่างานของเราไปถึงไหน แล้วก็ไม่ควรจะเผลอ ต้องให้มีการดูติดตามไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อปฏิบัติเช่นนั้นก็จะยิ่งก้าวหน้าใหญ่ งานต่าง ๆ ก็จะมีความสำเร็จได้ ไม่ใช่งานทางพุทธศาสนาเท่านั้น งานอื่น ๆ ในโลก งานในหน้าที่ หรืองานในทางส่วนตัว งานทุกอย่างนั้นจะก้าวหน้าไปได้โดยดี จะไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะว่าราบรื่นได้ เพราะแม้จะมีอุปสรรค อุปสรรคเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นอุปสรรคที่จะข้ามไม่ได้ ถ้ามีความเพียรความอดทนความเอาใจใส่ และเมื่อปฏิบัติงานดังนี้ก็จะต้องทบทวนอยู่เสมอ ดูให้ชัดว่างานที่เราทำไปมันไปถึงไหน งานนั้นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะบางทีถ้ามีความอดทน มีความเพียร และก็มีความเอาใจใส่ อาจจะเอาใจใส่อย่างไม่ถูกต้องนัก คือ เช่นเดียวกันกับการเดินทางไปที่ไหน สมัยนี้ก็ต้องแล่นรถ เราก็แล่นรถไปตามทาง มีทางแยกเราก็เห็นว่าทางนี้ถูกต้องแล้ว แต่ว่าแท้จริงเราเลี้ยวผิด อาจจะเป็นได้เพราะว่าดูท่าทางเป็นเช่นนั้น ก็จะต้องทบทวนว่าทางนั้นถูกต้องหรือไม่
อย่างเมื่อครั้งไปภาคอีสาน ดูในแผนที่ว่าหมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ในแผนที่แล้ว เราก็เห็นว่าทางที่ควรจะไปหมู่บ้านหนองแคร่นั้นอยู่ข้างทาง ซึ่งบนแผนที่เขียนว่าเป็นทางประ หมายความว่าจะเรียกว่าเป็นทางเกวียนก็ได้หรือเป็นทางเดิน แต่ว่าเราทราบว่ามีทาง ร.พ.ช. ผ่านมาใกล้แถวนั้น และก็มีทางอีกทางหนึ่งที่จะไปเชื่อมกับทาง ร.พ.ช. ได้ เราก็แล่นไปทางถนนใหญ่ ถึงที่ ๆ จะเลี้ยวเราก็บอกเลี้ยวซ้าย แล้วก็เลี้ยวซ้ายไปในถนนที่เป็นทางประอีกแห่งหนึ่งให้ไปถึงทาง ร.พ.ช. เมื่อถึงทาง ร.พ.ช. แล้ว ในแผนที่เขียนไว้ว่าให้เลี้ยวซ้าย แล้วก็ตรงไปลงจากทาง ร.พ.ช. เขียนไว้อย่างนั้น แต่ว่าเราก็แล่นรถไป แล่นไปขึ้นทาง ร.พ.ช. แล้วทาง ร.พ.ช. นั้นเลี้ยว เลี้ยวแล้วก็ไม่มีทางแยกแต่ประการใด ก็แล่นต่อไปข้ามสะพานไปถึงบ้านอีกบ้านหนึ่ง เราก็ฉงนว่าบ้านนี้มันอยู่ที่ไหน แล้วก็ทิศทางที่เราไปนั้นไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งมันไม่ถูก แต่ว่าไม่รู้ตัวเพราะว่าไม่ได้ทบทวนตลอดทาง แต่ไปถึงตรงนั้นเราก็ทราบว่ารู้สึกว่าต้องผิดแน่ จึงมาดูทิศทางและแผนที่อีกที ก็เลยปรากฏว่าจะต้องลงจากถนน ร.พ.ช. ตรงที่ใกล้เลี้ยวนั้นเอง แล้วก็กลับหลังหันลงมาประมาณ 2 กิโลเมตร แล่นมาถึงทางเลี้ยว ตรงนั้นมีทางลงไปเลี้ยวขวาไปบ้านหนองแคร่ ก็กลับเลี้ยวขวาลงไปตามทางที่เรามาแต่เดิม แล้วลงไปประมาณ 100 เมตร จึงเลี้ยวขวาอีกที แล้วไปทางประนั้นก็ไปถึงบ้านหนองแคร่ได้ ดังนั้นก็เห็นได้ว่าเราต้องพิจารณาทุกฝีก้าวว่า ตรง เลี้ยวขวานั้นความจริงยังไม่ถึงทาง ร.พ.ช. มันเป็นเลี้ยวขวาที่อยู่ในแผนที่เดิม และก็ไปถึงหนองแคร่ได้ ถ้าตั้งแต่ต้นได้มาพิจารณาดูชัด ๆ และติดตามตลอดไป ก็จะไม่ต้องเสียเวลา ไปต่อไปในทางที่ผิด แต่ถ้าเรามีความเพียรบอกว่ามีความเพียรอดทนกันไป ทางมันไกล แล่นไปตาม ร.พ.ช. นั่นจะไปถึงไหน มันจะออกไปโน่น จะข้ามไปถึงถนนไปนครพนมไปเลย หมายความว่าถ้าสมมุติว่าเราเอาหัวชนฝา เราเพียรมีความอดทนแล่นรถไป 2 ชั่วโมง ไปถึงนครพนมจะมีประโยชน์อะไร มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย แล้วก็จะเสียหายเพราะว่าเราจะเหน็ดเหนื่อยเปล่า และก็เสียน้ำมันซึ่งแพงนักในสมัยนี้เพราะไกลมาก หมายความว่าถ้าเรามีความเพียร ความอดทน และความจ้องดูถนนที่แล่นไปนั้นเท่านั้นเอง ไม่มีการ ทบทวนเป็นระยะ ๆ ว่าเราไปถึงไหน เราก็ไม่สามารถที่จะไปถึงจุดหมายที่ถูกต้องนอกจากจะบังเอิญ เพราะฉะนั้นก็จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้ครบถ้วนถึงจะดำเนินไปได้โดยดี
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นทางที่จะให้ได้ปฏิบัติงานของธรรม หรือปฏิบัติพุทธศาสนาในทางที่เรียกว่าปฏิบัติ เริ่มต้นตรงนี้อย่างนี้ และที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานทุกอย่าง ไม่ใช่งานของการปฏิบัติธรรม เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานของตัว ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย มีประโยชน์ทั้งนั้น ใครมีหน้าที่อะไรมีงานอะไร ถ้าทำตามหลัก นี้ก็มีความสำเร็จได้แน่ ๆ บอกว่าแน่ ไม่ใช่อาจจะ เป็นสิ่งที่แน่เพราะว่าจิตใจของเราจะได้ปฏิบัติในทางที่ถูก
คราวนี้ก็ยังไม่ได้พูดถึงว่า พุทธศาสนานี้ปฏิบัติที่ไหน ปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าคนที่ศึกษาพระพุทธศาสนา หรือมาตั้งเป็นพุทธสมาคม หรือเป็นกลุ่มศึกษาพุทธศาสนา บางที่ก็ยังไม่ทราบว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเริ่มที่ไหน เพราะที่พูดถึงวิธีการที่จะเริ่มปฏิบัติได้นั้น ก็ไม่ได้บอกว่าเริ่มปฏิบัติที่ตรงไหน นอกจากมาเปรียบเทียบว่าเข้าไปหาสวิตซ์ไฟเพื่อจะเปิด ให้มีความสว่าง และเมื่อมีความสว่างแล้วก็ดูทางได้ และไปดูทางที่จะทำให้สว่างยิ่งขึ้น สวิตซ์ไฟนั้นอยู่ที่ไหน คือสวิตซ์ไฟนั้นเราเอาแสงไฟเท่าที่เรามีริบหรี่นั้นไปฉาย แล้วก็ไปเปิดสวิตซ์ไฟ สวิตซ์ไฟนี้คืออะไร เพราะท่านพูดอยู่เสมอว่าพระพุทธศาสนานั้นเมื่อได้ปัญญา ก็มีความสว่าง เมื่อปฏิบัติธรรมก็ได้ปัญญา ได้แสงสว่างปัญญานั้นก็ดูจะเป็นสวิตซ์ไฟ แต่ถ้าดู ๆ ไปปัญญานี้ปัญญาในอะไร ก็ปัญญาในธรรมนี่ ปัญญาในธรรมไม่ใช่สวิตซ์ไฟ ปัญญาในธรรมนั้นคือแสงสว่าง สำหรับเปิดไฟให้สว่างคือให้ได้ถึงปัญญานั้นก็จะต้องมีสวิตซ์ไฟ สวิตซ์ไฟนั้นคืออะไร หรือว่าสวิตซ์ไฟนั้นจะพบอย่างไร แต่การที่จะบอกว่าสวิตซ์ไฟคืออะไรนั้น ก็คือใจเรา ใจหรือจิต จิตหรือใจก็ได้ แล้วบางทีท่านก็เรียกว่าจิต บางท่านก็เรียกว่าใจ บางท่านก็บอกว่าจิตคือใจ บางท่านก็บอกว่าใจคือจิต บางท่านก็บอกว่าจิตไม่ใช่ใจ หรือบางท่านก็บอกว่าจิตคือเป็นอาการของใจ อาการของใจนี้แปลว่าอะไร ใจเป็นสิ่งที่เรามี ทุกคน เป็นสิ่งที่เราไม่เห็น เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น แต่ว่าใจนี้จะเป็นผู้บงการการกระทำของเราทั้งหลาย จึงต้องพยายามดู แต่ใจนี้เราไม่ดูก็ไม่เห็น ถ้าดูด้วยตา ด้วยตาที่มองดูภูมิประเทศ ดูใครต่อใครดูตึกอาคารนั้น ตานั้นจะไม่เห็น ท่านก็เรียกว่าตาใจคือความรู้ ตาใจนั้นก็คือเป็นสิ่งที่จะใช้สำหรับได้ปัญญา ได้เห็นแสงสว่างของปัญญา
คราวนี้เราก็เจอแล้วว่า ส่วนหนึ่งของสวิตซ์ไฟหรือส่วนหนึ่งของกลไกที่จะทำให้มีความสว่างคือใจ ใจนี้เมื่ออยากทราบก็จะต้องปฏิบัติหลายอย่าง ตอนแรกเราจะไม่เห็นใจ เพราะว่าเมื่อเราดูไปเราก็เกิดความฟุ้งซ่าน เราเกิดความรู้สึกโลภ รู้สึกอาจจะโกรธด้วยซ้ำ จึงทำให้มีสิ่งที่มาปิดคือปิดด้วยสิ่งที่ท่านเรียกโมหะ คือความโง่ความไม่รู้หรือรู้ไม่จริง มันปิดบังใจและปิดบังความจริง ฉะนั้น จะต้องหาทางที่จะเปิด เปิดม่านนั้น เมื่อเปิดม่านนั้น ก็จะต้องพยายามที่จะทำให้ใจนี้สงบ อันนี้ก็มาถึงที่เรียกว่าสมถะหรือสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่ว่า บางคนก็บอกว่าการนั่งสมาธินี้ ระวังดี ๆ อาจจะเป็นบ้าก็ได้ อาจจะแย่ ลำบากไม่มีทางที่จะทำ น่ากลัว แต่ว่าสมาธินี้ก็ต้องเริ่มอย่างเบา ๆ ก่อน คือว่าจะต้องมี ความตั้งใจให้จิตใจนี้ไม่ไปเกาะเกี่ยวกับอะไรก็ตาม หมายความว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยการ ปัดกวาดสิ่งที่เป็นม่าน หรือจะเป็นสิ่งที่คลุมไม่ทำให้สงบได้ ไม่ทำให้เกิดความนิ่งแน่ได้ การที่จะให้เกิดความสงบคือสมาธินี้ จึงต้องพยายามดูให้เห็นว่าอะไรมาปิดบัง เมื่อถอนสิ่งที่ปิดบังนั้นทันใดก็ได้สมาธิ โดยมากเราจะทำอะไรเราก็คิดถึงอะไรสารพัดไม่แน่ คือหมายความว่าเราไปติดในเรื่องอื่น อย่างสมมติว่าเราจะเดินเดินไปไหน ถ้าสมมติเราลุกขึ้นยืน แล้วเราอยากออกจากห้องโถงนี้ เราไม่เห็นประตู เราไม่เห็นอะไร เราจะต้องถอนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าตาเราก่อน หันไปในทางที่จะเห็นสิ่งที่เหมาะสมในการกระทำคือประตู ถ้าสมมติว่าเราดูฝาผนังหรือดูม่านหรือดูเพดาน สิ่งเหล่านั้นมันปิดบังไม่เห็นประตู เราก็จะต้องเอา จิตใจของเราออกไปจากฝาผนัง หรือออกจากเพดาน หรือออกจากม่าน เอาไปไว้ที่ประตู หมายความว่าขั้นแรกเราต้องการประตู เราก็จะต้องทิ้งฝาผนังหรือเพดานหรือม่านที่เรากำลังดู หมายความว่าสิ่งที่กีดขวางไม่ให้สามารถที่จะได้เห็นสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราบอกว่า เราดูฝาผนังบ้าง ดูเพดานบ้าง ดูม่านบ้าง เราไม่มีทางที่จะดูประตู แต่ว่าถ้าเราตัดสินใจว่า ตอนนี้ไม่ใช่ภาระของเราที่จะดูเพดาน ดูฝาผนังหรือดูอะไร เป็นภาระที่จะไปหาประตู เราก็จะถอนออกมาจากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ที่กำลังฟุ้งซ่านอยู่ ส่วนมากเรามีความชอบอะไร ก็เรียกว่ามีกามราคะ มีโทสะคือพยาบาท และบางทีก็ไม่ใช่โทสะหรือราคะอะไร มีความฟุ้งซ่านแกว่งไกวไปที่โน่นที่นี่ เดี๋ยวอันนี้ก็ไม่เอา อันโน้นก็ไม่เอา มันไม่มีทางที่จะมีความสงบ หรือบางทีเราก็พยายามหาความสงบ เราไม่มีความเพียรพอ เรามันง่วงเรามันหาว บางที่เราก็เกิดมีสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถ มันย่อหย่อน บางทีก็ไม่เชื่อว่ามีประตูด้วยซ้ำ ต้องปัดกวาดความลังเลสงสัยอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ สื่งที่ไม่ดีคือสิ่งที่ทำให้เราฟุ้งซ่าน ทำให้เราไม่สามารถที่จะทำใจให้นิ่ง ๆ เพราะว่ามีสิ่งที่มาปิดบังดังนี้ แต่ถ้าเราพยายามที่จะดูว่ามีสิ่งที่ปิดบัง และก็บอกว่าเอา ตอนนี้มันไม่ใช่เรื่องไม่ใช่เวลาที่จะเอาสิ่งมาปิดบัง ถอนปิดบัง เหล่านี้ เราก็ได้สมาธิ ได้ทันทีเลย นี้เรียกว่าสมาธิ
สมาธินั้นเราอาจจะได้เป็นเวลาเพียงครึ่งวินาที นั้นก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ว่าเป็นสมาธิย่อที่อ่อนมาก แต่ก็เป็นสมาธิ ข้อสำคัญที่จะต้องได้อันนี้ ให้เป็นว่าสมาธิคืออะไร โดยมากคนเราเมื่อเป็นเด็กเป็นนักเรียนท่านก็สอน คือหมายความว่าครูบาอาจารย์หรือพ่อแม่ก็สอน ให้ตั้งจิตตั้งใจเรียน ก็หมายความว่าทำสมาธินั้นเอง แล้วเราก็เรียนว่าถ้าเราตั้งใจในสิ่งนั้น ๆ ให้ดีมันก็ทำได้ เรียกว่ามีสมาธิ เพราะว่าจิตเราไปเพ่งอยู่อันเดียว แต่คนเราถ้าไม่มีสมาธิ เสียเลย หมายความว่าเป็นคนฟุ้งซ่านจริง ๆ เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง จะเรียนอะไรไม่ได้ จะอ่านหนังสือไม่ได้ จะพูดก็ไม่ได้ ไม่มีทางอะไรเลย คือว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคนก็มีสมาธิ ไม่ใช่ว่าคนเราเราเสียใจเหลือเกินว่าเรามันขาดสมาธิ ถ้าคิดว่าเราขาดสมาธิเท่ากับเรามีสมาธิอยู่แล้ว เพราะรู้ว่ามีคำว่าสมาธิ เราได้เรียนรู้แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิในตัวเลย หมายความว่าไม่มีความดีเลยในตัว ก็ไม่สามารถที่จะแม้จะคิดว่ามีคำว่าสมาธิ ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัวสมาธินี้ซึ่งเรามีทุกคน เรามีความดีอยู่ในตัวทุกคน แต่ให้เห็นว่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือจากสมาธิที่เรามีธรรมดา ๆ ที่เมื่อเด็ก ๆ ครูบาอาจารย์พ่อแม่ได้สั่งสอนบอกว่าต้องตั้งใจ แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสมาธิ เพราะเหตุว่าการที่จะปัดกวาดสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ ที่ท่านเรียกว่านิวรณ์ การปิดกันนี้เราจะเอาออก มันต้องมีสมาธิ
อันนี้ พวกเราที่อยากจะศึกษาสมาธิ และศึกษาการปฏิบัติธรรมติดอยู่ตรงนี้ เพราะว่าเราไปหาอาจารย์ท่านบอกว่าต้องทำสมาธิ มีนิวรณ์ 5 อย่างนั้น ๆ มีสิ่งที่ปิดกั้น การที่จะทำให้สิ่งที่ปิดกั้นนั้นออกจะต้องตั้งใจ ต้องมีสมาธิเพื่อที่จะเอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก เราก็งง แล้วโดยมากไม่มีที่ไหนที่จะสอนให้ทำสมาธิโดยไม่ได้บอกว่าให้เอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก บอกว่าต้องระงับนิวรณ์ทั้งนั้น ก็หมายความว่าการระงับนิวรณ์นี้ต้องใช้อะไร ก็ต้องใช้สมาธิ จะทำอย่างไร ไก่มาก่อนไข่หรือไข่มาก่อนไก่ ความจริงใช้สมาธิระงับนิวรณ์จริง ๆ ท่านไม่ได้พูดผิด แต่ว่าเรามันไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าเราต้องการสมาธิแล้วเราต้องใช้สมาธิเพื่อระงับนิวรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ว่าถ้าเข้าใจแล้วว่าสมาธิเรามีอยู่ทุกคน มิฉะนั้นเราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่มีสมาธิหรือไม่มีทุนเดิม เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่ว่ามีความฉลาด มีความดี มีวาสนาทุกคน ทุกคนมีมากหรือน้อยเท่านั้นเอง หรือดีหรือชั่วเท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งแล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทำสมาธิได้ เพราะเหตุว่าเราได้ทำมาแล้ว เราทำมาถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีความดีอยู่ในตัว ความชั่วมี แล้วก็โดยมากใคร ๆ ก็ว่ามนุษย์มีกิเลส มีความชั่วเลวทรามต่าง ๆ ต้องขัดเกลา เราก็หัวหดเลย แต่ว่าความจริงไม่เป็นเช่นนั้น คือความจริงทั้งหมดที่ครบถ้วน ไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรามีความเลวความชั่วในตัวทุกคนมากหรือน้อย โดยมากก็มาก แต่ว่าเรามีความดี เรามีความดีทุกคนมากหรือน้อย แต่โดยมากก็น้อย อย่างไรก็ตาม มีน้อย ๆ นี่มันเป็นทุนเดิมทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มี ทุกคนสามารถที่จะปฏิบัติงานของธรรมนี้ได้ทุก ๆ คน ไม่เว้นทุกคน แต่ว่าจะต้องหารือขุดความดีที่เรามีเป็นทุนเดิมนี้มาทำให้เกิดความดีเพิ่มขึ้น ฉะนั้น ก็ใช้สมาธิที่มีอยู่เดิม อาจจะสมาธิแย่ ๆ ก็ได้ แต่ว่าเป็นสมาธิมากระตุ้นทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้น ฉะนั้นสมาธิที่ดีขึ้นนั้นก็มีได้ทุกคน ก็อาศัยความเพียร ความอดทนที่อาจมีสมาธินี้ ก็เปรียบเทียบไว้กับไฟฉายเล็ก ๆ หรือไม้ขีดไฟริบหรี่ ไฟริบหรี่นั้นก็สามารถที่จะใช้อันนี้สำหรับไปทำให้สมาธิใหญ่ขึ้น ดีขึ้น อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้สมาธิ
สมาธินี้ถ้าเราเอามาใช้คือสร้างสมาธิให้ดีขึ้นหน่อย แล้วเอามาใช้ ไม่ต้องทำสมาธิ ให้หนักแน่นมากนัก แต่ว่าเป็นสมาธิที่ควบคุมได้ เราทำสมาธิให้นิ่ง จิตใจให้นิ่ง ก็จะมาเห็นใจของเรา ใจจะไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับ ใจจะเป็นสิ่งที่เปิดเผย คือเราเปิดเผยกับตัวเอง ถ้ากลัวว่าคนอื่นจะมาเห็นใจเรา จะมาทะลุทะลวงเข้ามาในใจเรา ไม่ต้องกลัว เราทะลุทะลวงเข้ามาในใจของตัวเอง เราก็ดูใจนี้ก็จะเห็นได้ต่อเมื่อใจนั้นได้รับที่เรียกว่า อารมณ์ คือสิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตา ได้ฟังด้วยหู เป็นต้น เวลาเข้ามาแล้วเราจะเห็นว่าใจนี้ อันนี้พูด อย่างลับ ใจนี้จะมีความรู้สึกอย่างไร คือตัวใจนี้เป็นรูปร่างอย่างไร ใจนี้จะชอบ ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อันนี้ใช้สมาธิที่ทำให้ใจนี้นิ่งก่อน แล้วก็เมื่อมีอารมณ์ ซึ่งอารมณ์เข้ามาทุกเมื่อตลอดเวลา อารมณ์เข้ามา เรากั้นอารมณ์นั้นไว้เท่าที่มีความสามารถ ด้วยการระงับนิวรณ์ ใจนั้นจะกระเพื่อม ถ้าเปรียบเทียบได้จะเห็น จะเห็นในใจของแต่ละคน ถ้าคิดจริง ๆ ดูว่าใจนี้เป็นเหมือนน้ำที่นิ่ง สมมติว่าเราเอาน้ำมาไม่ต้องมาก เอาน้ำมาใส่ชาม อ่างก็ได้ กลับบ้านไปหาชามอ่างเอาน้ำมาใส่ให้เต็ม เอาชามอ่างนั้นมาวางไว้แห่งหนึ่ง น้ำ นั้นจะนิ่ง ทิ้งไว้ให้นิ่งสักครู่ คราวนี้เปรียบเทียบกับใจ ใจหรือน้ำนิ่งนั้น แล้วเราก็ไปหาอะไรอย่างหนึ่ง จะเป็นก้อนกรวดหรือจะเป็นอะไรก็ตามโยนลงไป น้ำนั่นเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม หรือชามอ่างนั้นวางไว้ เราไปผลัก น้ำจะเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม เราจะเห็นน้ำกระเพื่อม กระเพื่อมอย่างไรเราก็เห็น ถ้าเราโยนอะไรเล็ก ๆ ลงไป น้ำจะกระเพื่อม ก็เหมือนเป็นคลื่นเล็ก ๆ เสร็จแล้วถ้าเราผลักเอา มันก็จะกระเพื่อม กระเพื่อมไปคนละอย่าง ถ้าเราเอาน้ำใส่เต็มอ่าง ชามอ่างนั้นอาจจะทำให้น้ำกระฉอกออกมา หรือถ้าเราโยนอะไรที่ใหญ่ลงไป น้ำต้องกระเซ็นออกมาทำให้โต๊ะหรืออะไรที่เราวางไว้เปียกหมด ถ้าเราผลักน้ำก็อาจจะต้องหก นี่แหละใจ เราจะเห็นได้ว่าใจของเราเมื่อได้รับการกระทบอย่างไรก็ตาม ด้วยอารมณ์ใดก็ตาม ใจนั้นจะกระเพื่อม คือใจนั้นจะเหมือนน้ำ ใจนั้นจะมีคลื่น ใจนั้นจะทำให้มีความเคลื่อนไหว เราก็เห็นได้ ถ้าใจนั้นโดนอย่างแรง ก็อาจจะหกอาจจะออกมา หมายความว่าสมมติเราอยู่เฉย ๆ ใครเข้ามาตีหัวเราหรือมาต่อยเราก็โกรธแล้วก็ต่อยตอบไปเลย นี่ใจมันหกออกมา เราก็ดู ในการดูใจนี้ก็เป็นการดูปฏิกิริยาของใจ ความเคลื่อนไหวของใจ คราวนี้ก็ได้ถึงเห็นใจแล้ว ใจที่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวต่าง ๆ และก็ใจนี้ทำให้เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ ใจนี้เองเมื่อมีความสุขบางทีก็ลิงโลดดีใจมาก อาจจะทำให้เสียหายก็ได้ กระโดดโลดเต้นหกคะเมนลงมาขาหักก็ได้ เป็นสิ่งธรรมดา คือหมายความว่าแม้แต่มีความสุขก็ทำให้มีความทุกข์ต่อไปได้
พุทธศาสนาศึกษาอะไร ก็ศึกษาความทุกข์นี่เอง ความทุกข์เป็นสิ่งที่คนไม่ชอบจึงต้องการให้พ้นทุกข์ พ้นทุกข์สำหรับตัวเองแต่ละคน ๆ แต่ว่าการให้พ้นทุกข์นี้ยากมาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่าไม่เป็นทุกข์ มีความรู้สึกว่าเป็นสุขอยากได้ความสุข แล้วก็ใครมาทำให้เราเป็นทุกข์หรือแม้แต่มีความสุขน้อยลงไป ก็ทำให้เราโกรธ ทำให้เราไม่พอใจ แล้วก็เดือดร้อนฟุ้งซ่านไม่มีความสุข แล้วก็มีความทุกข์ ฉะนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือ การศึกษาว่า ทุกข์นี้มาจากไหน ทำไมเราไม่ชอบความทุกข์ เราเป็นทุกข์ในทุกข์ เราก็จะต้องดูทุกข์นี้เป็นอะไร ให้เข้าใจว่าคืออะไร แล้วเราก็จะต้องเห็นว่าทุกข์นี้มีเหตุผล มีต้นเหตุ เมื่อมีต้นเหตุแล้วเราก็จะต้องดูว่า เราระงับทุกข์ได้ตรงไหน บอกว่ามีทุกข์ต้องบรรเทาทุกข์ ความจริงทุกข์นั้นบรรเทาไม่ได้ ต้องปล่อยให้ไปตามเรื่องของมัน ก็เสร็จแล้วมันก็หายไป เพราะว่ามีทุกข์ มันก็ไม่มี มันก็หมดไปได้ สุขมีสุขก็หมดไปได้ ฉะนั้น การที่พระพุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้าให้เราศึกษา ก็คือศึกษาให้เห็นว่าทุกข์มันมาจากไหน ให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เป็นอะไร แล้วก็ทุกข์มาจากไหน จะเห็นว่ามีทุกข์ก็ต้องมีการไม่ทุกข์ เมื่อมีการไม่ทุกข์ก็มีการหมดทุกข์ได้ มีการหมดทุกข์ได้แล้วก็เห็นได้ว่ามีทางที่จะหมดทุกข์ อันนี้ท่านก็เรียกว่าอริยสัจ
ฉะนั้น การศึกษาพุทธศาสนาก็คือการศึกษาอริยสัจนั้นเอง แต่ก่อนที่จะศึกษา ถึงอริยสัจหรือได้ทราบถึงอริยสัจ ก็ย่อมต้องดูกลไกของการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้าใจว่าจะต้องเริ่มจากที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้นี้คือจุดเริ่มต้น คือดูใจด้วยเครื่องมือที่มีคือสมาธิ ในการนี้ในตอนต้นนั้นก็ต้องมีความพอใจในการที่จะปฏิบัติคือชอบใจ มีฉันทะ แล้วก็มีความเพียรในการทำ มีความจดจ่อในการทำ มีความสำรวจในการทำ ถ้าหากว่าตั้งแต่ต้น สามารถที่จะทำอย่างนั้น ก็จะเคลื่อนขึ้นไป จะดำเนินไปถึงจุดสุดยอดได้สูงสุด คือได้ ศึกษาอริยสัจและเข้าใจในอริยสัจ การศึกษาพระพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ไม่ยากถ้าจิตใจจดจ่อ ถ้ามีความตั้งใจจริง และมีความซึ่งเรียกกันทุกคนว่าความสุจริต ทุกคนต้องสุจริต ถ้าทุจริตแล้วไม่มีทาง เพราะว่าไปในทางที่ผิดทุกครั้ง ไปในทางที่คิดว่าดีคิดว่าสะดวก แต่ว่ามืดมนไปในทางที่ผิดทั้งนั้น ฉะนั้นต้องมีความสุจริต เวลาให้โอวาทกับใคร หรือใครท่านผู้ใหญ่ให้โอวาทกับผู้อื่น ก็ต้องพูดว่าขอให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วางตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต อันนี้ก็เพื่อให้งานของส่วนราชการหรือส่วนงานนั้น ดำเนินไปด้วยดี เพราะว่าถ้าทุจริตแล้วก็พัง แต่ว่าการงานของพระพุทธศาสนาเป็นการงานของแต่ละคนเป็นส่วนตัวแท้ ๆ ก็ต้องทำด้วยความสุจริตเหมือนกัน ถ้าไม่ทำด้วยความสุจริต แล้วตัวเองก็เท่ากับเอาก้อนหินมาถ่วงที่คอแล้วโยนลงไปในนรก
ได้พูดเมื่อวันที่ 4 พูดถึงผี อันนี้พูดถึงผีอาจจะไม่ค่อยเข้าใจกัน นี่ขอพูดอีกสักนิดหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตอนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพุทธศาสนานัก แต่เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นความจริง คือคนเราไม่เห็นว่า เรามีกายและใจซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เท่ากับได้มีใจนี้ คือตัวเรามาประกอบกับกาย ซึ่งเราก็นึกว่าเป็นตัวเราเหมือนกัน แต่ว่ากายกับใจนี้ก็สามารถที่จะนำมาใช้มาทำงานทำการมาประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี เพื่อความสุขความเจริญของกายหรือใจ หรือของกายและใจ ฉะนั้น ต่อไปเมื่อกาย และใจนี้แยกออกไปก็ว่าเป็นผี เพราะว่ากายที่ไม่มีใจเขาก็เรียกว่าผี ผีความจริงก็เรียกว่าศพ แต่ว่าเขาก็เรียกว่าผี ผีเป็นสิ่งที่ไม่มีใครชอบ โดยเฉพาะว่าเป็นกายที่ไม่มีใจแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเลย เพราะว่าเป็นตามธรรมดา กายนี้เมื่อไม่มีใจอยู่แล้วก็ย่อมจะต้องสลายออกไปเป็นธาตุ แล้วก็เป็นผี แต่ใจนั้นเวลาไม่มีกายแล้วก็เป็นผีเหมือนกัน คือว่าที่ว่าจิตวิญญาณหรืออะไรก็ตามที่ตายแล้ว แล้วก็เรียกว่าผี บางทีผีมาหลอก ก็แปลกเหมือนกันที่ว่าทำไมจึงมาหลอกได้ ทว่าผีหลอกได้นั้นก็เพราะเหตุว่า ผีนั้นหมายความว่า จิตวิญญาณนั้นยังยึดมาก ยังยึดจนกระทั่งกำลังยึดนั้นกลับมาเหมือนมายึดจิตใจของผู้ที่ เห็นผี มายึดได้ชั่วขณะก็ได้เห็นว่าเป็นผี แต่ว่าผีนั้นจะเป็นผีกายที่ไม่มีใจหรือใจที่ไม่มีกาย ผีนั้นไม่มีความสามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าเวลากายกับใจประกอบกันเป็นตัวบุคคล โดยเฉพาะเป็นมนุษย์ สามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าแยกไปแล้วไม่สามารถที่จะประกอบความดี แต่เมื่อประกอบกันแล้ว แล้วก็ทำความดี ผีนั้นก็เป็นผีที่เรียกว่าเป็นผีดีคือเป็นผีที่มีคุณ เป็นเทวดา เป็นพรหม คือเป็นผีที่ให้คุณและเป็นคุณกับตัว ถ้าประกอบความไม่ดีคือทุจริต ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ก็เป็นผีไม่ดี ก็เป็นเปรตเป็นอสุรกาย ผีนั้นความจริงก็ดูไม่มีกายแต่ว่าอาจจะมาหลอกเราได้เช่นเดียวกัน เพราะว่ามายึดกายเรา มายึดตาเรา มายึดหูเราได้ แต่ว่าถ้าผีนั้นที่เมื่อมีกายทำไม่ดีเป็นผีไม่ดีนั้น เขาจะแก้ไขอะไรไม่ได้เหมือนกัน จะต้องทนทุกข์ทรมาน จะทนทุกข์ทรมานได้อย่างไรเมื่อไม่มีกาย แต่ความที่เป็นผีนั้นเองก็เลยมีความยึดนึกว่าตัวมีกาย อย่างเช่นพวกเราเอง ใจเราเราก็นึกว่าตัวเรามีกาย แต่แท้จริงก็เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นกอง ๆ เท่านั้นเอง แต่ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ตัวมีกายแต่ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส อย่างเปรตหิวข้าวตลอดวัน ตลอดคืนตลอดเวลา กินก็ต้องกินตลอดเวลา แต่กินไม่ได้ มันก็ทรมานอย่างยิ่ง อย่างพวกเราเวลาไปไหน ๆ หรือเวลาแม่ครัวไม่ได้ทำกับข้าวให้กิน เราก็หิว มันทรมาน บางที เราไปที่ไหนไม่มีอาหาร เราไม่มีอาหาร ควรจะได้อาหารกลางวันอาหารค่ำไม่มี เราหิวมันก็ทุกข์ทรมาน ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ก็ต้องกินอาหาร เมื่อกินไม่ได้อย่างเปรตที่ว่าปากเป็นรูเข็ม ไม่สามารถจะกินอะไร มันหิวทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง นี้ก็เป็นทุกข์ที่ยังไม่มากนัก อย่างอื่นยังมากกว่าอีก เช่น เอาอะไรมาเสียบแทงทะลุหัวจนถึงทวารหนัก ที่ท่านว่าอย่างนั้น แทงด้วยเหล็กที่เป็นไฟ แล้วอาจจะลงกะทะทองแดงหรืออะไรก็ตาม นั่นนะเป็นความทุกข์ที่ผีมี ที่ผีไม่ดีมี เป็นความทุกข์อย่างแสนสาหัส แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้หมดเวร หมดกรรม หมดเวรหมายความว่าหมดวาระเวลาที่จะหมดความทุกข์ทรมาน แล้วก็สามารถ ที่จะไต่เต้าขึ้นมาเป็นคนอีก ถ้าคนเช่นนั้นขึ้นมาก็หมายความว่าเป็นคนที่ยังไม่ค่อยขัดเกลานัก แต่ว่าขึ้นมาก็พอที่จะได้มาเป็นคน บางคนเราเห็นว่าเป็นคนเลวทรามมาก เราก็ว่ามันพวกสัตว์นรก ก็เพราะว่าพวกนี้จิตใจยังเสื่อมอยู่ จิตใจยังไม่ได้ขัดเกลา แต่พวกนี้ที่ขึ้นมาได้แล้วก็สามารถที่จะมีสมาธิได้ และสามารถที่จะมีการขัดเกลาเรียนธรรมได้แน่นอน ไม่ใช่ไม่มี เพราะฉะนั้น ที่พูดถึงผีนี่ไม่ใช่ที่จะชักชวนให้ท่านทั้งหลายได้สนใจเกี่ยวข้องกับวิชาผี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่านึกถึงว่าแต่ละคนก็เป็นผี ทุกคนเป็นผี เป็นผีมาแล้วและจะเป็นผีต่อไป เมื่อเป็นผีมาแล้ว แล้วก็ได้ประกอบกรรมดีมาพอสมควร ได้เกิดมาเป็นคนหรือเป็นมนุษย์ เราก็พยายามประกอบความดีขึ้นเพื่อให้เป็นผีดีต่อไป เมื่อเป็นผีดีต่อไปก็สามารถ ที่จะได้มีภพมีชาติที่ดีขึ้นไปต่อไป แต่ก็ต้องระวังเหมือนกัน แม้จะเป็นผีดีแล้วไปหลงในความดีความสบายของผีแล้วก็อาจจะตกนรกต่อไปได้มีเหมือนกัน ฉะนั้น ก็ต้องพยายาม ที่จะต้องพิจารณาว่า ระหว่างนี้ที่เรามีกายกับใจประกอบกัน ให้ดูกายให้ถูกต้อง ให้ดูใจให้ถูกต้อง แล้วก็จะสามารถที่แม้จะเป็นผีก็เป็นผีที่ดีได้ แต่ว่าถ้าความปรารถนาสูงสุดคือ ปรารถนาที่จะให้หลุดพ้นจากการที่จะต้องเป็นผี อย่างพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ท่านไม่ต้องเป็นผี ท่านไม่ได้เป็นผี ท่านหลุดพ้น เรียกว่าพ้นไปได้ ต้องแยกกายกับใจ อย่างพวกเรา ๆ ที่ยังไม่ได้ความหลุดพ้น ถ้าหากว่าทำจิตใจให้ผ่องใสแล้วก็ได้ดูจิตของเรา หรือใจของเรา แล้วก็ดำเนินให้จิตใจของเราพยายามที่จะเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตกต่ำเป็นผีไม่ดี พยายามทำอะไรที่จะทำให้ดีขึ้น จะเรียกว่าทำให้ผ่องใสขึ้น ทำให้มีความสุขขึ้น ให้ทำอะไรที่สุจริตก็จะเป็นผีดีก็คือเทวดา และการเป็นเทวดาเท่ากับได้มีเวลาไปพักผ่อนในที่ ๆ สบาย แล้วก็ต่อไปก็สามารถที่จะกลับมารับราชการโลกต่อ เป็นคนก็จะเป็นมนุษย์ที่ดี แล้วก็ขัดเกลาไปขัดเกลามาก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่หลุดพ้น อันนี้ก็เป็นความปรารถนาของพุทธศาสนา
พูดมานานก็เพราะว่าพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสนใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนจะได้ ประโยชน์ถ้าเข้าในทางที่ถูก และเป็นสิ่งที่ไม่ยากที่จะปฏิบัติ พูดว่าไม่ยากในการปฏิบัติ ไม่น่าที่จะพูดนานถ้าเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ แต่ว่าจะง่ายถ้าตั้งจิตให้ถูกที่ถูกทางด้วยความเพียรและด้วยความจดจ่อ ด้วยความรู้รอบคอบคือการสำรวจให้ดี ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้าได้พูดให้ ยาวก็เพราะว่า สิ่งที่ง่ายนี้ทุกคนอาจจะยังไม่เห็นหรือเห็นยาก เห็นยากในสิ่งที่ง่ายจึงต้องพูดยาว แต่ถ้าทุกคนเห็นสิ่งที่ง่ายนี้แล้วก็ไม่ต้องพูดยาว ถ้าสมมุติว่าทุกคนเห็นว่าง่ายจริง ๆ หมายความว่าเห็นส่วนที่ง่ายจะพูดได้สั้นมาก คือท่านทั้งหลายขอให้มีความเพียรในการปฏิบัติจิตที่ถูกต้องที่ดี อันนี้ก็หมด พูดแค่นี้ก็พอ ไม่ต้องพูดอื่น ถ้าพูดอย่างนี้ก็ยังยาว ถ้าท่านทั้งหลายมาแล้วก็รู้ว่าทุกคนรู้ว่าง่ายแล้วรู้จริง ไม่ใช่รู้เก๋ ๆ เฉย ๆ รู้จริงว่าง่าย บอกว่า สวัสดีเท่านั้นเองก็พอ ไม่ต้องมานั่งมายืนให้เมื่อย ไม่ต้องมาพูดให้คอแห้งเปล่า ๆ ก็เพียงว่าสวัสดี เพียงว่าปฏิบัติดีชอบก็พอ แต่มันยากที่ว่าไม่เห็นว่าง่าย ฉะนั้น ในที่นี้ก็พูดเกินไปพูดมากไปก็จะเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะว่าอาจจะมีคนคัดค้านได้ในคำพูดที่พูดออกไป ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าเป็นทฤษฎี ความจริงไม่ใช่ทฤษฎีแหวกแนวอะไร เป็นส่วนหนึ่งของการสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแท้ ๆ ไม่ใช่สิ่งที่คิดค้นขึ้นมาโดยไม่ได้มีหลักฐาน
ฉะนั้น ถ้าท่านทั้งหลายมาวันนี้มาให้พร คือตามที่บอกมาเป็นทางการว่า มาให้พรในโอกาสวันเกิดที่ผ่านมาแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านมาที่นี่แล้วท่านก็ต้องมานั่งอยู่นาน แต่ก็ขอขอบใจที่ท่านมาด้วยปรารถนาดี และจะดีใจมากถ้าทุกคนที่อยู่ในกลุ่มสมาคมหรือชมรม หรือชุมนุมที่จะศึกษาพุทธศาสนา จะไปคิดทบทวนหน้าที่ของกลุ่มต่าง ๆ และหน้าที่ของแต่ละคนดังกล่าวนี้ ที่ว่าไม่ใช่ว่าจะบอกว่าเผยแพร่พระพุทธศาสนา สั่งสอนพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขอให้ได้ไปปฏิบัติแต่ละคนในจิตใจของแต่ละคน และทุกคนจะเป็นศาสนาใดก็ตามในประเทศไทย ก็จะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติของท่าน คือว่าเป็น ประโยชน์ผู้อื่นในการปฏิบัติประโยชน์ของตน ฉะนั้น ถ้าทุกคนได้ปฏิบัติประโยชน์ของตน อย่างแท้จริง อย่างจริง ๆ ไม่ใช่เบี่ยงบ่ายไปในทางทุจริต ทำจริง ๆ ในประโยชน์ของตน ของธรรมของตัว หรือของโลกของตัว เป็นอันว่าได้ประโยชน์แล้วสำหรับทุกคนในโลก อาจจะมีประโยชน์สำหรับผีทั้งผีดีไม่ดี ถ้าเราทำดีแล้วเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนทุกตนที่มี อยู่ในโลกหรือโลกอื่น เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งหมด เพราะว่าแผ่ความดีแผ่รัศมีเช่นเดียวกับที่เราว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ท่านตรัสรู้แล้วก็แผ่รัศมีออกมา เราได้รับทั้งนั้น แม้จะเป็นคนที่ไม่ใช่พุทธศาสนา ก็ได้รับประโยชน์ของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
อันนี้ก็เพียงแต่ต่อท้ายนิดหนึ่งว่า ที่ท่านมาให้พรก็เพื่อประโยชนส่วนตัวของท่าน ที่ท่านมาบอกว่าให้บารมีปกเกล้าท่านก็ต้องเป็นผู้ทำ ถ้าผู้ทำเองได้ดีแล้วก็ดี มาให้พรก็เห็นว่าถ้าท่านทำตนเองให้ดีก็เป็นการให้พร เพราะฉะนั้นจะว่าขอขอบใจก็ไม่เชิง แทนจะบอกขอขอบใจ ก็ควรจะบอกว่าอนุโมทนา ควรจะบอกว่าดีใจ ดีใจที่ท่านมาให้พร เพราะหมายความว่าท่านตั้งจิตให้ดีแล้ว พรนี้ก็จะแผ่ออกมา แผ่ออกไปทั่วทั้งหมด อันนี้ถ้าพูดต่อไปก็อาจจะต้องพูดถึงแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ ถ้าทำดีนี้ ศึกษาดี ปฏิบัติดี สงเคราะห์ดี ก็เป็นการแผ่เมตตาจนไม่มีประมาณ อันนี้ก็เป็นหัวข้อต่อไป คราวนี้พูดแค่นี้แล้วก็รู้สึกว่ามากเกินไปก็ถึงขอลา แล้วก็ขอบใจท่านทั้งหลายที่มาชุมนุมกัน.
(1) เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
Search Engine API Documentation
0 件のコメント:
コメントを投稿