-
ความรู้ปฏิทิน ได้ยกมาจาก คัมภีร์โหราศาสตร์ ฉบับมาตรฐาน ว่า :-
-
-
-
คำว่าศักราช คือ อัญชันศักราช หรือจุลศักราชในครั้งโน้น
-
พระปัจเจกพุทธเจ้า[1] (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง[2] ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา เป็นดังนี้เพราะเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าเกิดอัปโปสุกกธรรม[3] คือ ไม่ขวนขวายที่จะแสดงธรรม ยินดีอยู่วิเวกตามลำพัง จึงประจำอยู่แต่ในป่า นาน ๆ จึงจะเข้าเมืองเพื่อบิณฑบาตสักครั้ง
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และอาจมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ประกาศลัทธิศาสนาจนเกิดพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มรสมาจากในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจจะอธิบายได้ด้วยการบอกสอนถึงรสชาตินั้น (มรรค-ผล) ให้บุคคลอื่นรู้ตาม (คือสอนได้แต่ไม่อาจกระทำพยากรณ์) พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ก่อตั้งบัญญัติหรือสถาปนาสถาบันในรูปของศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้บำเพ็ญพรตและผู้ถวายทานให้ พระปัจเจกพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีความแตกต่างจากพระพุทธเจ้า คือ อาจเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ อาจเป็นคหบดี หรือคนชั้นสังคมใดก็ได้ไม่จำกัด[4][5][6] แต่สั่งสมความแจ่มแจ้งที่จะสิ้นสงสัยในธรรมลักษณะมามากพอ เมื่อได้เกิดเบื่อหน่ายในโลกิยธรรม จึงออกบวชแล้วศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นเงื้อมเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์เชิงเขาหิมาลัย โดยมีเหล่าช้างฉัททันต์โขลงหนึ่งคอยปรนนิบัติรับรองดูแลอยู่เป็นประจำ
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกา) ปรากฏในตำราทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบไว้ว่า การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเที่ยวไปลำพังผู้เดียวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เช่นนั้น เป็น “ ประดุจนอแรด ” (*นักศึกษากล่าวถึง นัยยะเรื่อง ขคฺควิสาณกปฺโป ว่า หมายถึง แรดนอเดียว อาจแปลว่ามีแค่เฉพาะในเขตประเทศอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากแรดสายพันธุ์อื่น) พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมติตกลงต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อแสดงสัมโมทนียธรรม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีเป็นจำนวนมาก พระไตรปิฎกได้แสดงเรื่องราว ถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า 5 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 8 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 500 พระองค์บ้าง ดังเหตุการณ์ที่ได้ประชุมกันที่ภูเขาคันธมาทน์เป็นต้น เพราะการหลีกเร้นไม่ปรากฏตัว แต่อยู่ในที่เฉพาะป่าเขา เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
*มีคำเปรียบเปรยถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[7] ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ”
แหล่งข้อมูล อ้างอิง.
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และอาจมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ประกาศลัทธิศาสนาจนเกิดพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มรสมาจากในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจจะอธิบายได้ด้วยการบอกสอนถึงรสชาตินั้น (มรรค-ผล) ให้บุคคลอื่นรู้ตาม (คือสอนได้แต่ไม่อาจกระทำพยากรณ์) พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ก่อตั้งบัญญัติหรือสถาปนาสถาบันในรูปของศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้บำเพ็ญพรตและผู้ถวายทานให้ พระปัจเจกพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีความแตกต่างจากพระพุทธเจ้า คือ อาจเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ อาจเป็นคหบดี หรือคนชั้นสังคมใดก็ได้ไม่จำกัด[4][5][6] แต่สั่งสมความแจ่มแจ้งที่จะสิ้นสงสัยในธรรมลักษณะมามากพอ เมื่อได้เกิดเบื่อหน่ายในโลกิยธรรม จึงออกบวชแล้วศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นเงื้อมเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์เชิงเขาหิมาลัย โดยมีเหล่าช้างฉัททันต์โขลงหนึ่งคอยปรนนิบัติรับรองดูแลอยู่เป็นประจำ
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกา) ปรากฏในตำราทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบไว้ว่า การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเที่ยวไปลำพังผู้เดียวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เช่นนั้น เป็น “ ประดุจนอแรด ” (*นักศึกษากล่าวถึง นัยยะเรื่อง ขคฺควิสาณกปฺโป ว่า หมายถึง แรดนอเดียว อาจแปลว่ามีแค่เฉพาะในเขตประเทศอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากแรดสายพันธุ์อื่น) พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมติตกลงต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อแสดงสัมโมทนียธรรม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีเป็นจำนวนมาก พระไตรปิฎกได้แสดงเรื่องราว ถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า 5 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 8 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 500 พระองค์บ้าง ดังเหตุการณ์ที่ได้ประชุมกันที่ภูเขาคันธมาทน์เป็นต้น เพราะการหลีกเร้นไม่ปรากฏตัว แต่อยู่ในที่เฉพาะป่าเขา เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
*มีคำเปรียบเปรยถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[7] ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ”
แหล่งข้อมูล อ้างอิง.
- ปัจเจกพุทธาปทาน, ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒
- เดิมพระคัมภีร์กล่าวไว้ ๒ ประเภท แต่ความแห่งอรรถกถา ว่า มี ๔ ประเภท
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ
- พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธสัตว์ชาตินกยูงทอง
- พระปัจเจกพุทธะ ชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ
- พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายช่างกัลบก
- พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๑ บรรทัดที่ ๑๕-๑๗
|
#เรื่อง “แสดงคติสมบูรณ์” ให้กระทำกลับคืน ศัพท์ อนาคตังสญาณ ‹ ?
返信削除“เมื่อยืนหลัก เกี่ยวแต่คำสัตย์ คำถูก แลผิด และด้วยพฤติการที่ไม่ชอบ! เช่นนั้น ใครจะเป็นผู้ชี้ , อนุมาน ในเรื่องนี้ พึงควร จะต้องบอกว่า ตรงที่ใด? ไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ นั่นหน่ะ! ตรงเช่นนั้น ย่อมไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้า , ดังนี้ ความ ที่ซึ่ง เป็นหลักเบื้องต้น ก็ต้องเป็นดั่งนี้
เพราะว่า พระอรหันต์ องค์ที่ประพฤติตนหมดจด ท่านก็บอก ก็สาธยาย มาโดยตลอด อยู่แล้วว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ เป็นพระซึ่งสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วทั้งนั้น คำตรัสของพระองค์ ก็ยิ่งสมบูรณ์บริบูรณ์ ด้วยอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ หมดจด สิ้นเชิง แล้ว , ที่พระพุทธสาวก พระอนุพุทธะ ท่าน กระทำ!มาแต่ด้วยมุขบาฐ ท่องจำสืบกันมา ก็เพราะอย่างนั้น
คือ พระท่านจะต้องท่องจำ ทรงจำไว้ แต่ที่เขียนไม่ผิด พูดไม่ผิด ทั้งนั้นแหละ , เพราะว่า หากมิทำเช่นนั้นแล้ว สิ่งที่สืบกันมา ฉะนั้น ก็จะมิใช่คำตรัสพระพุทธเจ้า มีแต่ต้องได้สูญไป เพราะคำตรัส ที่แท้จริง ตรัสบัญญัติ ซึ่ง ธรรม และวินัย ย่อมจะต้องสมบูรณ์ และบริบูรณ์ อีกทั้ง ต้องเป็นหนึ่ง ไม่มีสอง” (กระทำกลับคืน กระทำสมบูรณ์ คำว่า “อนาคตังสญาณ” rb.gy/vbl1yi)
...การค้นไปแต่พระปิฎกธรรมนี้ เป็นเรื่องกล่าวยาก เพราะควรแต่จะยกให้ท่านนักเปรียญเท่านั้น ไว้ให้ท่านจงเป็นผู้ชี้แจง เป็นคนกล่าว เพราะตนเองเรามาอ่านรู้เรียนด้วย เข้าสอบหาพิรุธ เช่นนี้ ก็เพื่อจะสอบหาความสนใจไปส่วนตัวเท่านั้น คืออยากรู้เทียบกันกับอาณัติสัญญา ที่ซึ่งเป็นความทรงจำในส่วนตน หามายิ่งเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ๆ ย่อมอาจที่จะกล่าวไปคนละแบบ หรือคนละโลกกับหนแห่งบรรณพิภพ กับงานหนทาง ๆ หนังสือนั่นเลยเทียว เพราะที่ตัวเราถือแน่ใจ สนใจ เราเองถือตามข้อมูลไฟล์ ตามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ทำได้นี้เท่านั้น เพราะตนจะไปเกะกะก้าวก่าย เร่ไปหาดูวัตถุข้าวของ เล่มหนังสือ หรือชุดข้อมูลตามหลักฐานเดิมวัตถุเล่มจริง เป็นต้นแท้ จะให้สามารถทำอย่างนั้นได้ไม่ กับเรื่องหนังสือดั้งเดิม ตัวต้นฉบับตัวจริงของจริง ตนเอง เป็นใคร ในคนธรรมดา ย่อมจะหามีทางรู้รายละเอียดอย่างนั้นไม่ได้
返信削除แล้วการ ควรจะว่ารู้พระปิฎกธรรม ก็จึงต้องรู้ต่างกันไป อย่างนี้...